วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์
________________________________________
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล ตามความต้องการและความเหมาะสมของท้องถิ่น ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 บัญญัติให้คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ให้เหมาะสมกับลักษณะการบริหารและอำนาจ หน้าที่ของเทศบาล และจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานกลางเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่คณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (8) ประกอบมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และมติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุมครั้งที่ 5/2544 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ให้ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ไว้ดังต่อไปนี้
หมวด 1
สิทธิการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์
________________________________________
ข้อ 1 พนักงานเทศบาลผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยตาม มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง การอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวดนี้
การพิจารณาอุทธรณ์ให้พิจารณา วินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสืออุทธรณ์ แต่หากมีความจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาพิจารณาได้อีกสองครั้ง ๆ ละไม่เกินสามสิบวัน และให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็น
ที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วย
ข้อ 2 การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ทำความเห็นเสนอ และเมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติเป็นประการใด ให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น แล้วแจ้งผู้อุทธรณ์ และรายงานคณะกรรมการกลางพนักงาน เทศบาล เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย การให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจง และเพื่อให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสม ตามบันทึกสรุปประวัติและข้อเท็จจริง ซึ่งมีสาระสำคัญตามแบบ สป.1 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้ และผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณา อุทธรณ์และการร้องทุกข์ ตามวรรคหนึ่ง ให้นำข้อ 68 วรรคสี่และวรรคห้า ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 3 การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ตามข้อ 2 ทำความเห็นเสนอ และเมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติเป็นประการใด ให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือ
ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น แล้วแจ้งผู้อุทธรณ์ และรายงานคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษา วิจัย การให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจง และเพื่อให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสม ตามบันทึกสรุปประวัติและข้อเท็จจริง ซึ่งมีสาระสำคัญตามแบบ สป.1 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
ในกรณีที่คณะกรรมการพนักงาน เทศบาลมีมติตามวรรคหนึ่ง หากผู้อุทธรณ์เห็นว่ามติ
ดังกล่าวขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไป เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย หรือมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ หรือมาตรฐานทั่วไปนี้ ให้มีสิทธิร้องต่อคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เพื่อดำเนินการตามมาตรา 19 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้นำข้อ 25 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 4 ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในข้อ 71 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย
ข้อ 5 พนักงานเทศบาลซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น หรือข้าราชการตาม
กฎหมายอื่นผู้ใดถูกสั่งลงโทษทาง วินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุเป็นพนักงานเทศบาล และผู้นั้นมี
สิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นหรือระเบียบข้าราชการตามกฎหมายอื่นที่โอนมา แต่ยังมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามข้อ 2 ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานส่วนท้อง ถิ่นอื่นหรือระเบียบข้าราชการตามกฎหมายอื่นที่โอนมาไว้แล้ว และในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นพนักงานเทศบาล การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลที่ผู้นั้นสังกัดอยู่เป็นผู้ พิจารณาอุทธรณ์
ข้อ 6 การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้อุทธรณ์ ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนมิได้
การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือแสดง ข้อเท็จจริงและเหตุผลในการอุทธรณ์ให้เห็นว่าได้ ถูกลงโทษโดยไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นธรรมอย่างไร และลงลายมือชื่อและที่อยู่ ของผู้อุทธรณ์
ในการอุทธรณ์ ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของคณะอนุกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณีให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์ หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้ แต่ต้องยื่นหรือส่งหนังสือขอแถลงการณ์ด้วยวาจานั้นต่อคณะกรรมการพนักงาน เทศบาลโดยตรงภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
ข้อ 7 เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ ผู้จะอุทธรณ์มีสิทธิขอตรวจ หรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนหรือของผู้สอบสวนได้ ส่วนการขอตรวจหรือคัดบันทึกถ้อยคำบุคคล พยานหลักฐานอื่น หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้อยู่ในดุลพินิจของนายกเทศมนตรี ที่จะอนุญาตหรือไม่ โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ในการรักษาวินัยของพนักงานเทศบาล ตลอด จนเหตุผลและความจำเป็น เป็นเรื่อง ๆ ไป
ข้อ 8 ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือกรรมการพนักงานเทศบาลผู้พิจารณาอุทธรณ์ ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษ
(2) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษ
(3) มีสาเหตุโกรธเคืองผู้อุทธรณ์
(4) เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ หรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดากับผู้กล่าวหาหรือผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ
การคัดค้านอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือกรรมการพนักงานเทศบาลผู้พิจารณาอุทธรณ์นั้น ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสืออุทธรณ์ หรือแจ้งเพิ่มเติมเป็นหนังสือก่อนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้อง ทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี เริ่มพิจารณาอุทธรณ์
เมื่อมีเหตุหรือมีการคัดค้านตามวรรคหนึ่ง อนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือกรรมการพนักงานเทศบาลผู้นั้น จะถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้นก็ได้ ถ้าผู้ถูกคัดค้านนั้นมิได้ขอถอนตัว ให้ประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือประธานกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน หากเห็นว่า ข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือ ให้แจ้งผู้ถูกคัดค้านนั้นทราบ และมิให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้น เว้นแต่ประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือประธานกรรมการพนักงานเทศบาล พิจารณาเห็นว่าการให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะจะทำให้ได้ความจริงและเป็นธรรม จะอนุญาตให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้นก็ได้
ข้อ 9 เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลา อุทธรณ์ ให้ถือวันที่ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อ รับทราบคำสั่งลงโทษเป็นวันทราบคำสั่ง
ถ้าผู้ถูกลงโทษไม่ยอมลง ลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษ และมีการแจ้งคำสั่งลงโทษให้ผู้ถูกลงโทษทราบ กับมอบสำเนาคำสั่งลงโทษให้ผู้ถูกลงโทษ แล้วทำบันทึกลงวัน เดือน ปี เวลา และสถานที่ที่แจ้ง และลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบคำสั่ง
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษได้โดยตรงและได้ แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งลงโทษทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูก ลงโทษ ณ ที่อยู่ของผู้ถูกลงโทษ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ โดยส่งสำเนาคำสั่งลงโทษไปให้สองฉบับเพื่อให้
ผู้ถูกลงโทษเก็บไว้หนึ่ง ฉบับ และให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งลงโทษส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่า ผู้ถูกลงโทษได้รับเอกสารดังกล่าว หรือมี ผู้รับแทนแล้ว แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งลงโทษฉบับที่ให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งลงโทษกลับคืนมา ให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษได้ทราบคำสั่งแล้ว
ข้อ 10 การอุทธรณ์ให้ทำ หนังสืออุทธรณ์ถึงประธานกรรมการพนักงานเทศบาล พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับ โดยออกนามจังหวัด และยื่นที่ศาลากลางจังหวัด หรือเทศบาลนั้น
การยื่นหรือส่งหนังสือ อุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งผ่านนายกเทศมนตรีก็ได้ และให้นายกเทศมนตรีดำเนินการตามข้อ 14
ในกรณีที่มีผู้นำหนังสืออุทธรณ์มายื่นเอง ให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือประทับตรารับหนังสือ และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือ ตามระเบียบว่าด้วยงาน
สารบรรณ และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
ในกรณีที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันส่ง หนังสืออุทธรณ์
เมื่อได้ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งคำแถลงการณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่คณะ อนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลแล้วแต่กรณี เริ่มพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้ โดยยื่นหรือส่งต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลโดยตรง
ข้อ 11 อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ ที่ถูกต้องในสาระสำคัญตามข้อ 6 และข้อ 10 และยื่นหรือส่งภายในกำหนดเวลาตามข้อ 1
ในกรณีที่มีปัญหาว่าอุทธรณ์รายใดเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่ ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติไม่รับอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไว้พิจารณา ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแจ้งมตินั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือ และเมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติเป็นประการใดแล้ว ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้
ในกรณีที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติให้รับอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไว้พิจารณา ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการ ร้องทุกข์ ทำความเห็นเสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไป
ข้อ 12 ผู้อุทธรณ์จะขอ ถอนอุทธรณ์ก่อนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ทำความเห็น หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นหรือส่งต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลโดยตรง เมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้วการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ
ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ถูก ลงโทษได้โอนไปสังกัดเทศบาลอื่นนอกเขตจังหวัด ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลในจังหวัดที่ผู้อุทธรณ์ได้โอนไป สังกัดนั้น
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้โอนไปสังกัดเทศบาลอื่นนอกเขตจังหวัด หลังจากที่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว และคณะกรรมการพนักงานเทศบาลสังกัดเดิมยังมิได้มีมติตามข้อ 16 ให้ส่งเรื่องอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานตามข้อ 15 ไปให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลในจังหวัดที่ผู้อุทธรณ์ได้โอนไปสังกัด เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้โอนไปสังกัดเทศบาลอื่นนอกเขตจังหวัด หลังจากที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลสังกัดเดิมได้มีมติตามข้อ 16 แล้ว แต่นายกเทศมนตรีสังกัดเดิม ยังมิได้สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้น ให้ส่งเรื่องอุทธรณ์พร้อมมติของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลสังกัดเดิมนั้น ไปให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลในจังหวัดที่ผู้อุทธรณ์ได้โอนไปสังกัด เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ข้อ 14 ในกรณีนายก เทศมนตรีได้รับหนังสืออุทธรณ์ที่ได้ยื่นหรือส่งตามข้อ 10 วรรคสอง ให้นายกเทศมนตรีจัดส่งหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวพร้อมทั้งสำเนาหลักฐานการรับ ทราบคำสั่งลงโทษ ของผู้อุทธรณ์ สำนวนการสืบสวนหรือการพิจารณาในเบื้องต้น และสำนวนการดำเนินการทางวินัย ตามข้อ 20 และข้อ 22 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ไปยังประธานกรรมการพนักงานเทศบาลภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือ อุทธรณ์
ในกรณีนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่ผู้อุทธรณ์ได้โอนไปสังกัด ได้รับหนังสืออุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งหนังสืออุทธรณ์ไปยังประธานกรรมการพนักงานเทศบาล ภายในสามวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสืออุทธรณ์
ข้อ 15 การ พิจารณาอุทธรณ์ตามข้อ 2 ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลแล้วแต่กรณี พิจารณาจากสำนวนการสืบสวน หรือการพิจารณาในเบื้องต้น และสำนวนการดำเนินการทางวินัย ตามข้อ 20 และข้อ 22 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม รวมทั้งคำชี้แจงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือขอให้ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีผู้อุทธรณ์ขอแถลงการณ์ด้วย วาจา หากคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และ
การร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้
ในกรณีที่นัดให้ผู้ อุทธรณ์มาแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อที่ประชุม ให้แจ้งนายกเทศมนตรีผู้สั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษทราบด้วยว่า ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้พนักงานเทศบาลที่ เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาต่อที่ประชุมครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว ให้นายกเทศมนตรีที่สั่งลงโทษ หรือเพิ่มโทษหรือผู้แทนเข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ได้
ในการพิจารณาอุทธรณ์ ถ้าคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี เห็นสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความถูกต้องและเหมาะสม ตามความเป็นธรรม ให้มีมติแจ้งนายกเทศมนตรีดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำ เป็น
ข้อ 16 เมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ 2 แล้ว
(1) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษถูกต้องและเหมาะสมกับความผิดแล้ว ให้มีมติยกอุทธรณ์
(2) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็นว่า ผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่ควรได้รับโทษหนักขึ้น ให้มีมติให้เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้น
(3) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็นว่า ผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงควรได้รับโทษเบาลง ให้มีมติให้ลดโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง
(4) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็นว่า ผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษให้มีมติให้สั่งงดโทษ โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
(5) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดวินัย หรือพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย ให้มีมติให้ยกโทษ
(6) ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้มีมติให้ แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
(7) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็น ว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้มีมติแจ้งนายกเทศมนตรี ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามข้อ 22 วรรคสาม ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและ การรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย
ในกรณีที่เห็นว่า เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย หรือเห็น ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้มีการดำเนินการทางวินัย ตามข้อ 22 และตาม หมวด 4 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และ การดำเนินการทางวินัยแล้ว ให้มีมติให้เพิ่มโทษเป็นปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ตาม ข้อ 68 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ต่อไป
(8) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมโดยเห็นว่า ผู้อุทธรณ์ มีกรณีที่สมควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือให้ออกจากราชการ ตามข้อ 3 (4) ข้อ 4 หรือ ข้อ 5 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการให้นำ (7) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(9) ถ้าเห็นว่าสมควรดำเนินการโดยประการอื่นใด เพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรม ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
การออกจากราชการของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นเหตุที่จะยุติการพิจารณาอุทธรณ์ แต่จะมีมติตาม (2) หรือ (8) มิได้ และถ้าเป็นการออกจากราชการเพราะตาย จะมีมติตาม (7) มิได้ด้วย
ในกรณีที่มีผู้ถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกันและเป็นความผิด ในเรื่องเดียวกันโดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน เมื่อผู้ถูกลงโทษคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว และผลการพิจารณาเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ แม้ผู้ถูกลงโทษคนอื่นจะ ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุ เดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้วให้มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ข้อ 17 ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ 16 (7) หรือ (8) เมื่อคณะ
กรรมการสอบสวนได้สอบสวนพิจารณา เสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล เพื่อพิจารณามีมติตามข้อ 16
ข้อ 18 เมื่อคณะกรรมการ พนักงานเทศบาลได้มีมติตามข้อ 16 แล้ว ให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้น และเมื่อได้สั่งหรือปฏิบัติตามมติดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
ข้อ 19 ในกรณีนายกเทศมนตรีสั่งตามข้อ 18 แล้ว ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้
ข้อ 20 การนับระยะเวลา ตามมาตรฐานทั่วไปนี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะ เวลา ส่วนเวลาสุดสิ้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น