วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย(ทั้งฉบับ)


ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย

ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล ตามความต้องการและความเหมาะสมของท้องถิ่น ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 บัญญัติให้คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัยให้เหมาะสมกับลักษณะการบริหารและอำนาจหน้าที่ของเทศบาล และจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานกลางเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (6 ) ประกอบมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และมติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุม ครั้งที่ 5/2544 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ให้ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการ ทางวินัย ไว้ดังต่อไปนี้
หมวด 1
วินัยและการรักษาวินัย

ข้อ 1 พนักงานเทศบาลต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัดอยู่เสมอ
ข้อ 2 พนักงานเทศบาลต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ 3 พนักงานเทศบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 4 พนักงานเทศบาลต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ
ข้อ 5 พนักงานเทศบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 6 พนักงานเทศบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 7 พนักงานเทศบาลต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติและต้องป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ
ข้อ 8 พนักงานเทศบาลต้องรักษาความลับของทางราชการ
การเปิดเผยความลับของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 9 พนักงานเทศบาลต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 10 พนักงานเทศบาลต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
ข้อ 11 พนักงานเทศบาลต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง
ข้อ 12 พนักงานเทศบาลต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
ข้อ 13 พนักงานเทศบาลต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ
อย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผล
อันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 14 พนักงานเทศบาลต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการ
กลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างพนักงานเทศบาลด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติ ราชการ
ข้อ 15 พนักงานเทศบาลต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหง ประชาชนผู้ติดต่อราชการ
การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 16 พนักงานเทศบาลต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ข้อ 17 พนักงานเทศบาลต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ข้อ 18 พนักงานเทศบาลต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการโดยอนุโลม
ข้อ 19 พนักงานเทศบาลต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 20 ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทำโดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจ หรือการอื่นใดในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ
จิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่มีวินัย
การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ให้กระทำโดยการเอาใจใส่ สังเกตการณ์ และขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการป้องกันตามควรแก่กรณีได้
เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าพนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัย โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที
เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าพนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน ให้นายกเทศมนตรีรีบดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูล ที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย จึงจะยุติ เรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการทางวินัยทันที
การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยให้ดำเนินการตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปนี้
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อนี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัย
ข้อ 21 พนักงานเทศบาลผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัยตามที่กำหนดในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่กำหนดในหมวด 2
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก

หมวด 2
การดำเนินการทางวินัย

ข้อ 22 การดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานเทศบาลซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า และต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่
สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาส ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและการให้ปากคำของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธินำทนายความ หรือที่ปรึกษาเข้าฟังการชี้แจงหรือให้ปากคำของตนได้
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการ
สอบสวนตามที่นายกเทศมนตรีเห็นสมควร ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้นายก เทศมนตรีสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน
เมื่อดำเนินการตามวรรคสามแล้ว ถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตาม ข้อ 67 หรือข้อ 68 แล้วแต่กรณี ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามวรรคสาม ในเรื่องที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามข้อ 3 (4) หรือข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ และคณะกรรมการสอบสวนตามข้อดังกล่าว
ได้สอบสวนไว้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสาม จะนำสำนวนการสอบสวนตามข้อดังกล่าวมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคสามแล้วก็ได้
การสอบสวนพิจารณากรณีที่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด 4
ในกรณีที่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในหมวด 3 จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้
ข้อ 23 ให้กรรมการสอบสวนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ขอให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(2) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
ข้อ 24 พนักงานเทศบาลผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำ หรือละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่
**** การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง  นายกเทศมนตรีต้องสั่งแต่งตั้งกรรมการขึ้นทำการสอบสวนตามข้อ ๒๒ วรรคสาม ภายในหนึ่งร้อยแดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ
สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือ
โดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออกจากราชการเพราะตาย นายกเทศมนตรีมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ 20 และดำเนินการทางวินัยตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสีย
ข้อ 25 พนักงานเทศบาลผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการ
สอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ นายกเทศมนตรีมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้นายกเทศมนตรีสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้น มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
เมื่อได้มีการสั่งให้พนักงานเทศบาลผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว
ภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก นายกเทศมนตรีมีอำนาจดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตามข้อ 20 หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ 22 วรรคสาม ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไปนี้ต่อไปได้
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจาก
ราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้นั้น
มีสถานภาพเป็นพนักงานเทศบาลตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้น เป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
การออกคำสั่งตามข้อนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาลก่อน
เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือนและเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าว ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
การสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการ
ไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐาน ทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ
ข้อ 26 พนักงานเทศบาลซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่นผู้ใด
มีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานเทศบาลผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานเทศบาล ผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามมาตรฐานทั่วไปนี้โดยอนุโลม และในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษทางวินัย ให้ปรับบทความผิดและลงโทษตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่นนั้นโดยอนุโลม
**** หมวด 2/1
การกันไว้เป็นพยานและการให้ความคุ้มครองพยาน
______________________________________________________

                        ข้อ 26/1 หลักเกณฑ์และวิธีการการกันไว้เป็นพยานและการให้ความคุ้มครองพยานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมดนี้
                        ข้อ 26/2 ในหมวดนี้
                        "พยาน" หมายความว่า พนักงานเทศบาลผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำ
                        "ตัวการสำคัญ" หมายความว่า พนักงานเทศบาลผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด
                        "การกันไว้เป็นพยาน" หมายความว่า พนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่ตัวการสำคัญแห่งการกระทำผิดในเรื่องนั้น และนายกเทศมนตรีมีหนังสือให้กันไว้เป็นพยาน
                        "คณะกรรมการสอบสวน"  ให้หมายความว่า คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง
                        ข้อ 26/3 พนักงานเทศบาลผู้ใดอยู่ในข่ายที่จะถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมใน การกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ถ้าผู้นั้นได้ให้ข้อมูลแก่ผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการกระทำผิด วินัยที่ได้กระทำมาต่อบุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือตรวจสอบตาม กฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ และข้อมูลหรือถ้อยคำนั้นเป็นเหตุให้มีการดำเนินการทางวินัยแก่ตัวการสำคัญ อาจได้รับการกันไว้เป็นพยานและการให้ความคุ้มครองพยานตามหมวดนี้ ไม่ว่าจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม
                        ข้อ 26/4  พนักงานเทศบาลผู้ใดอยู่ในข่ายที่จะถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยถ้าผู้นั้นไม่ใช่ตัวการสำคัญ และเป็นกรณีที่ไม่อาจแสวงหาข้อมูลหรือพยานหลักฐานอื่นใดเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่ตัวการสำคัญในเรื่องนั้นได้ นอกจากข้อมูลหรือพยานหลักฐานจากพนักงานเทศบาลผู้นั้น นายกเทศมนตรีอาจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานได้
                        การกันพนักงานเทศบาลไว้เป็นพยานกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหลายคน ให้พิจารณาโดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้
(๑)    กันผู้ไม่ใช่ตัวการสำคัญไว้เป็นพยาน
(๒)กันผู้มีกรณีอันมีมูลที่ควรถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยซึ่งเป็นความผิดวินัยที่มีความร้ายแรงน้อยกว่าไว้เป็นพยาน
(๓)  ในกรณีที่เป็นความผิดวินัยที่มีความร้ายแรงเท่าเทียมกัน ให้กันผู้มีระดับตำแหน่งกว่าไว้เป็นพยาน
                        ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหารายใดที่ตำแหน่งระดับสูงกว่า แต่กระทำผิดวินัยที่มีความร้ายแรงน้อยกว่า ให้เป็นดุลยพินิจของนายกเทศมนตรีที่จะกันผู้ใดไว้เป็นพยาน
                        ข้อ 26/5 การพิจารณากันพนักงานเทศบาลไว้เป็นพยาน ต้องมิได้เกิดจากการล่อลวง ขู่เข็ญให้สัญญา หรือกระทำการอื่นใดโดยมิชอบแก่ผู้ถูกกันไว้เป็นพยาน เพื่อชักจูงให้ข้อมูล หรือให้ถ้อยคำในเรื่องที่กล่าวหานั้น
                        ข้อ 26/6 ในระหว่างการสอบสวน หากคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุอันสมควรที่จะกันผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยาน ให้ประธานคณะกรรมการสอบสวนรายงานไปยังนายกเทศมนตรีเพื่อสั่งกันผู้นั้นไว้เป็นพยานโดยเร็ว ในการนี้พนักงานสอบสวนต้องมีมติโดยระบุเหตุผลแห่งการพิจารณาไว้ด้วยว่าสมควรกันผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้นไว้เป็นพยานเพราะเหตุใด กรณีเช่นนี้ให้ถือว่าการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ถูกกันไว้เป็นพยานเป็นอันยุติ เว้นแต่ผู้ถูกกันไว้เป็นพยานมีพฤติการณ์ตามข้อ 26/7 ก็ให้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้นต่อไป
                        ข้อ 26/7 หากผู้ถูกกันไว้เป็นพยานตามข้อ 26/4 ไม่มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนหรือมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการหรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือกลับคำให้การ ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานนายกเทศมนตรีสั่งให้การกันผู้นั้นไว้เป็นพยานสิ้นสุดลง
                        ข้อ 26/8 ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งการกันหรือการสิ้นสุดการกันไว้เป็นพยานให้ผู้นั้นทราบด้วย
                        ข้อ 26/9 การให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ 26/3 ไม่ถือเป็นการเปิดเผยความลับของทางราชการ และไม่เป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
                        ข้อ 29/10 ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและนายกเทศมนตรีมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองพยานดังต่อไปนี้
(๑)    ไม่เปิดเผยชื่อ หรือข้อมูลใดๆที่จะทำให้ทราบว่าพยานเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำ
(๒)ไม่ใช้อำนาจไม่ว่าทางใดหรือกระทำการอื่นใดอันเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่เป็นธรรมซึ่งอาจมีผลทำให้กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของพยานในทางเสียหาย
(๓)  ให้ความคุ้มครองมิให้พยานถูกกลั่นแกล้งหรือถูกข่มขู่เพราะเหตุในการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำ
                        ในกรณีพยานผู้ใดร้องขอเป็นหนังสือเกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจะพิจารณาดำเนินการอื่นใดที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครองแล้วจึงปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ภายหลังก็ได้
                        ข้อ 26/11 พยานผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นยังไม่ให้ความคุ้มครองตามข้อ 26/10 หรือการให้ความคุ้มครองดังกล่าวยังไม่เพียงพอ พยานอาจยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อนายกเทศมนตรีเพื่อให้พิจารณาดำเนินการต่อไป
                        ในกรณีนายกเทศมนตรีไม่ให้ความคุ้มครองหรือให้ความคุ้มครองดังกล่าวยังไม่เพียงพอพยานอาจยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลได้
                        ข้อ 26/12 เมื่อนายกเทศมนตรีหรือคณะกรรมพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี ได้รับคำร้องตามข้อ 26/11 หากมีข้อมูลน่าเชื่อว่าเป็นไปตามที่พยานกล่าวอ้าง ต้องดำเนินการให้ความคุ้มครองพยานทันที
                        ข้อ 26/13 ภายใต้บังคับข้อ 26/11 วรรคหนึ่ง ให้กรณีที่นายกเทศมนตรีเป็นคู่กรณีกับผู้ถูกสอบสวนตามข้อ 31 วรรคห้า ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการโอนหรือย้ายหรือดำเนินการอื่นใดตามอำนาจหน้าที่ที่เห็นสมควรทันที
                        ข้อ 26/14 ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่ดำเนินการตามข้อ 26/11 วรรคหนึ่ง หือข้อ 26/13 ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
                        ข้อ 26/16 การคุ้มครองพยานตามหมวดนี้ให้พิจารณาดำเนินการในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้ และให้เริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำจนกว่าจะสั่งยุติเรื่อง หรือดำเนินการทางวินัยแก่ตัวการสำคัญแห่งการกระทำผิดเสร็จสิ้น

หมวด 3
การกระทำที่ปรากฏชัดแจ้ง

ข้อ 27 พนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งนายกเทศมนตรีจะดำเนินการทางวินัยตามข้อ 67 โดยไม่สอบสวน หรืองดการสอบสวนก็ได้
(1) กระทำความผิดอาญาจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำผิด และนายกเทศมนตรีเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดแล้ว
(2) กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและได้รับสารภาพในเรื่องที่ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือต่อนายกเทศมนตรี หรือให้ถ้อยคำสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามหมวด 4 และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
ข้อ 28 พนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งนายกเทศมนตรีจะดำเนินการทางวินัย ตามข้อ 68 วรรคหนึ่ง โดยไม่สอบสวนหรืองดการ สอบสวนก็ได้
(1) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกโดยศาลมิได้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ หรือให้ลงโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(2) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน และนายกเทศมนตรี
ได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(3) กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อนายกเทศมนตรี หรือให้ ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามหมวด 4 และได้มีการบันทึกถ้อยคำ รับสารภาพเป็นหนังสือ
ข้อ 29 พนักงานเทศบาลผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องต่อหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ และนายกเทศมนตรีเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นรับ
ราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการในกรณีดังต่อไปนี้ถือเป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งซึ่งจะดำเนินการให้ออกจากราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ โดยไม่สอบสวนก็ได้
1.กระทำหรือละเว้นกระทำการใดจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำผิดแต่ให้รอการ
กำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่ให้รอการลงโทษไว้ และนายกเทศมนตรีเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำ
พิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว
(2) มีกรณีหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อนายกเทศมนตรี หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือต่อคณะกรรมการสอบสวนตามหมวด 4 และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
หมวด 4
การสอบสวนพิจารณา

ข้อ 30 เพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรม การสอบสวนพิจารณาพนักงานเทศบาลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อ 22 หรือพนักงานเทศบาลซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัย
ว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ 31 การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แต่งตั้งจากพนักงานเทศบาล ในกรณีที่มีเหตุผลความ
จำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนพิจารณาหรือเพื่อความยุติธรรม การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอาจแต่งตั้งจากพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นหรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนโดยได้รับความยินยอมจากต้นสังกัดก็ได้
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แต่งตั้งจำนวนอย่างน้อยสามคน ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา และกรรมการอย่างน้อยอีกสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นพนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นหรือ
ข้าราชการฝ่ายพลเรือนด้วยก็ได้ และให้นำข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 47 และข้อ 48 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คณะกรรมการสอบสวนต้องมีผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร หรือผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัยหรือผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัยอย่างน้อยหนึ่งคน
เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว แม้ภายหลังประธานกรรมการจะดำรงตำแหน่งระดับ ต่ำกว่าหรือเทียบได้ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา ก็ไม่กระทบถึงการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ
ข้อ 32 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่กล่าวหา ชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน และผู้ช่วยเลขานุการ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ให้มีสาระสำคัญตามแบบ สว.1 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง ไม่กระทบถึงการที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 33 เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้นายกเทศมนตรีดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับด้วย ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับ
ทราบคำสั่ง หรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้ ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
(2) ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวน และส่งหลักฐานการรับทราบ หรือถือว่ารับทราบตาม (1) พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการ และให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 34 เมื่อได้รับเรื่องตามข้อ 33 (2) แล้ว ให้ประธานกรรมการดำเนินการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวางแนวทางการสอบสวนต่อไป
ข้อ 35 การประชุมคณะกรรมการสอบสวน ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่การประชุมตามข้อ 43 และข้อ 57 ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
การประชุมคณะกรรมการสอบสวนต้องมีประธานกรรมการอยู่ร่วมประชุมด้วย แต่ในกรณีจำเป็นที่ประธานกรรมการไม่สามารถเข้าประชุมได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทน
การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการสอบสวนให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 36 ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามเรื่องที่กล่าวหา
(2) มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(3) มีสาเหตุโกรธเคืองผู้ถูกกล่าวหา
(4) เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดา
หรือร่วมบิดาหรือมารดาของผู้กล่าวหา
(5) มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม
การคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายกเทศมนตรีภายในเจ็ดวัน นับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือวันทราบเหตุแห่งการคัดค้าน โดยแสดงข้อเท็จจริง
ที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือคัดค้านด้วยว่าจะทำให้การสอบสวนไม่ได้ความจริงและความยุติธรรมอย่างไร ในการนี้ ให้นายกเทศมนตรีส่งสำเนาหนังสือคัดค้านและแจ้งวันที่ได้รับหนังสือคัดค้านดังกล่าวให้ประธานกรรมการทราบและรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย
ในการพิจารณาเรื่องการคัดค้าน ผู้ซึ่งถูกคัดค้านอาจทำคำชี้แจงได้ หากนายกเทศมนตรีเห็นว่าหนังสือคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ ให้สั่งให้ผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน หากเห็นว่าหนังสือคัดค้านไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้ให้สั่งยกคำคัดค้านนั้น โดยให้สั่งการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
คัดค้าน ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แล้วส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนโดยเร็ว การสั่งยกคำคัดค้านให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่นายกเทศมนตรี ไม่สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในสิบห้าวันตามวรรคสาม ให้ถือว่าผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวนและให้เลขานุการรายงานไปยังนายกเทศมนตรีเพื่อดำเนินการตาม ข้อ 38 ต่อไป
การพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน ไม่กระทบถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ 37 ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนเห็นว่าตนมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านตามข้อ 36 วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นรายงานต่อนายกเทศมนตรีและให้นำข้อ 36 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ข้อ 38 ภายใต้บังคับข้อ 31 เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ถ้านายกเทศมนตรีเห็น ว่ามีเหตุอันสมควร หรือจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน เพิ่ม หรือลดจำนวนผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน ให้ดำเนินการได้โดยให้แสดงเหตุแห่งการสั่งนั้นไว้ด้วย และให้นำข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งไม่กระทบถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ 39 คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนตามที่กำหนดในหมวดนี้ เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดกระบวนการสอบสวน ในการนี้ ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมประวัติและความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา และจัดทำบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนไว้ทุกครั้งด้วย
ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสอบสวน
ข้อ 40 ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้
(1) ดำเนินการประชุมตามข้อ 34 และแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาตามข้อ 42 ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(2) รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่มีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตาม (1) แล้วเสร็จ
(3) แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามข้อ 43 ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตาม (2) แล้วเสร็จ
(4) รวบรวมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตาม (3)
(5) ประชุมพิจารณาลงมติและทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตาม (4) แล้วเสร็จ
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ได้ ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานเหตุที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จต่อนายก
เทศมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาการสอบสวน ในกรณีเช่นนี้ให้นายกเทศมนตรีสั่งขยายระยะเวลาดำเนินการ ได้ไม่เกินสองครั้ง ๆ ละไม่เกินสามสิบวัน
การสอบสวนเรื่องใดที่คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้ประธานกรรมการรายงานเหตุให้นายกเทศมนตรีเสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลทราบเพื่อติดตาม เร่งรัดการสอบสวนต่อไป
ข้อ 41 การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน ให้กรรมการ สอบสวนบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับ แต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้ จะใช้สำเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้องก็ได้
ถ้าหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลาย หรือโดยเหตุประการอื่น จะให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
ข้อ 42 เมื่อได้พิจารณาเรื่องที่กล่าวหาและวางแนวทางการสอบสวนตามข้อ 34 แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหาให้ทราบว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร ในการนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ตลอดจนอ้างพยานหลักฐานหรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ตามที่กำหนดในข้อ 43
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ สว.2 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้ โดยทำเป็นสองฉบับ เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ เก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกกล่าวหา
ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาว่า ได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหรือไม่ อย่างไร
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวเป็นความผิดวินัยกรณีใด หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการอย่างไร หากผู้ถูกกล่าวหายังคงยืนยันตามที่รับสารภาพ ให้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพ รวมทั้งเหตุผลในการรับสารภาพ (ถ้ามี) และสาเหตุแห่งการกระทำไว้ด้วย ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้ หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาโดยละเอียด จะทำการสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้ แล้วดำเนินการตามข้อ 57 และข้อ 58 ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาแล้วดำเนินการตามข้อ 43 ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาแล้วแต่ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหา หรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนส่งบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ สว.2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ หรือสถานที่ติดต่อที่ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งให้ทราบ พร้อมทั้งมีหนังสือสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ การแจ้งข้อกล่าวหาในกรณีเช่นนี้ ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ สว.2 เป็นสามฉบับ เพื่อเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ ส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาสองฉบับโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่รับทราบส่งกลับคืนมารวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าวแม้จะไม่ได้รับแบบ สว.2 คืน ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบ ข้อกล่าวหาแล้ว และให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามวรรคห้าต่อไป
ข้อ 43 เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 42 แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไรและเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามข้อใด หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ หรือไม่ อย่างไร แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาโดยระบุข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามข้อใด หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการอย่างไร และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบโดยระบุวัน เวลา สถานที่ และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหา สำหรับพยานบุคคลจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ สว.3 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้ โดยทำเป็นสองฉบับ เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับและให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือไม่ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาประสงค์จะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงภายในเวลาอันสมควร แต่อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำเพิ่มเติมรวมทั้งนำสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยเร็ว
การนำสืบแก้ข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะอ้างพยานหลักฐานแล้วขอ ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เสร็จแล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ 57 และข้อ 58 ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาแล้วแต่ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบหรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนส่งบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ สว.3 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทาง
ราชการ หรือสถานที่ติดต่อที่ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งให้ทราบ พร้อมทั้งมีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงนัดมาให้
ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา การแจ้งในกรณีนี้ ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ สว.3 เป็นสามฉบับ เพื่อเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ ส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาสองฉบับ โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาเก็บไว้หนึ่ง
ฉบับ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่รับทราบส่งกลับคืนมารวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าวแม้จะไม่ได้รับแบบ สว.3 คืน หรือไม่ได้รับคำชี้แจงจากผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำตามนัด ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะแก้ข้อกล่าวหา ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนต่อไปก็ได้ หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม จะสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้แล้วดำเนินการตามข้อ 57 และข้อ 58 ต่อไป แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหามาขอให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา หรือขอนำสืบแก้ข้อกล่าวหาก่อนที่คณะกรรมการสอบสวนจะเสนอสำนวนการสอบสวนตามข้อ 58 โดยมีเหตุผลอันสมควร ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอ
ข้อ 44 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานตามข้อ 43 เสร็จแล้ว ก่อนเสนอสำนวนการสอบสวนต่อนายกเทศมนตรีตามข้อ 58 ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจำเป็นจะต้องรวบรวมพยาน หลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการได้ ถ้าพยานหลักฐานที่ได้เพิ่มเติมมานั้นเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุน
ข้อกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนสรุปพยานหลักฐานดังกล่าวให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้เฉพาะพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่สนับสนุนข้อกล่าวหานั้น ทั้งนี้ ให้นำข้อ 43 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 45 ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ยื่นคำชี้แจงหรือให้ถ้อยคำแก้ข้อกล่าวหาไว้แล้วมีสิทธิยื่นคำชี้แจงเพิ่มเติม หรือขอให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนก่อนการสอบสวนแล้วเสร็จ
เมื่อการสอบสวนแล้วเสร็จและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของนายกเทศมนตรี หรือนายกเทศมนตรีคนใหม่ตามข้อ 56 ผู้ถูกกล่าวหาจะยื่นคำชี้แจงต่อบุคคลดังกล่าวก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้รับคำชี้แจงนั้นรวมไว้ ในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ 46 ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน ต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด จึงจะสอบสวนได้
ข้อ 47 ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน ห้ามมิให้กรรมการสอบสวนผู้ใดกระทำการล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญาหรือกระทำการใดเพื่อจูงใจให้บุคคลนั้นให้ถ้อยคำอย่างใด ๆ
ข้อ 48 ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ซึ่งจะถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่ทนายความหรือที่ปรึกษาของผู้ถูกกล่าวหา หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์ แห่งการสอบสวน
การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน ให้บันทึกถ้อยคำมีสาระสำคัญตามแบบ สว.4 หรือแบบ สว.5 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้แล้วแต่กรณี เมื่อได้บันทึกถ้อยคำเสร็จแล้วให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟังหรือจะให้ผู้ให้
ถ้อยคำอ่านเองก็ได้ เมื่อผู้ให้ถ้อยคำรับว่าถูกต้องแล้วให้ผู้ให้ถ้อยคำและผู้บันทึกถ้อยคำลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานและให้คณะกรรมการสอบสวนทุกคนซึ่งร่วมสอบสวนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย
ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายหน้า ให้กรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกหน้า
ในการบันทึกถ้อยคำ ห้ามมิให้ขูดลบหรือบันทึกข้อความทับ ถ้าจะต้องแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้ว ให้ใช้วิธีขีดฆ่าหรือตกเติม และให้กรรมการสอบสวนผู้ร่วมสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือตกเติม
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้น
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นำมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 49 ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานให้บุคคลนั้นมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำตามวัน เวลา และสถานที่ที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
ในกรณีที่พยานมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำหรือไม่มา หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนตามข้อ 39 และรายงานการสอบสวนตามข้อ 58
ข้อ 50 ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนตามข้อ 39 และรายงานการสอบสวนตามข้อ 58
****ข้อ 51 ในกรณีที่จะต้องสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่หรือส่วน ราชการนอกการบังคับบัญชาของนายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ประธานกรรมการสอบสวนจะรายงานต่อนายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ สวนเพื่อขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นสอบ สวน หรือรวบรวมพยานหลักฐานแทนก็ได้ โดยกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญ ที่จะต้องสอบสวนไปให้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอให้ ผู้บริหารท้องถิ่น หรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานนั้นเลือกพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่อยู่ในบังคับบัญชาตามที่เห็นสมควรอย่างน้อยสามคนเป็นคณะทำการสอบสวน

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะทำการสอบสวนมีฐานะเป็นคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรฐานทั่วไปนี้ และให้นำข้อ 35 วรรคหนึ่ง ข้อ 39 วรรคสอง ข้อ 46 ข้อ 47 ข้อ 48 และข้อ 49 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 52 ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า กรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังนายกเทศมนตรีโดยเร็ว ถ้านายกเทศมนตรีเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามรายงาน ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวน หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ 53 ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงพนักงานเทศบาลผู้อื่น ให้คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาในเบื้องต้นว่าพนักงานเทศบาลผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นว่าผู้นั้นมี
ส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นอยู่ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังนายกเทศมนตรีเพื่อ
พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีโดยเร็ว
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีเห็นว่า กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามรายงาน ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้สอบสวน หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในหมวดนี้ กรณีเช่นนี้ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้สอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนโดยแยกเป็นสำนวนการสอบสวนใหม่ให้นำสำเนาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในสำนวนการสอบสวนเดิมรวมในสำนวนการสอบสวนใหม่ หรือบันทึกให้ปรากฏว่านำพยานหลักฐานใดจากสำนวนการสอบสวนเดิมมาประกอบการพิจารณาในสำนวนการสอบสวนใหม่ด้วย
ข้อ 54 ในกรณีที่นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อสอบสวนพนักงานเทศบาล ผู้ใดในเรื่องที่ผู้นั้นหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจาก ราชการ และนายกเทศมนตรีเห็นว่าการสอบสวนเรื่องนั้นมีมูลว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่ง
นายกเทศมนตรีเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการทำการสอบสวนผู้นั้นตามข้อ 22 ให้ดำเนินการตามที่กำหนด ในมาตรฐานทั่วไปนี้ กรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสอบสวนตามข้อ 22 จะนำสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ มาประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ 55 ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดหรือต้องรับผิดในคดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว ให้ถือเอาคำพิพากษานั้นเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องสอบสวนพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามข้อ 43 ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย
ข้อ 56 ในระหว่างการสอบสวน แม้จะมีการสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาไปอยู่นอกบังคับบัญชาของนายก
เทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วทำรายงานการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนต่อนายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ 61 ข้อ 62 ข้อ 63 และข้อ 64 และให้นายกเทศมนตรีผู้สั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งเรื่องการสอบสวนทั้งหมดพร้อมทั้งความเห็นให้นายกเทศมนตรีคนใหม่ของ ผู้ถูกกล่าวหา และให้นายกเทศมนตรีคนใหม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น โดยถือเอาสำนวนการสอบสวนนั้นเป็นสำนวนการสอบสวนโดยไม่สอบสวนผู้ถูกกล่าวหาและพยานก็ได้ และให้นำความในข้อ 59 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ข้อ 57 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เสร็จแล้ว ให้ประชุม
พิจารณาลงมติ ดังนี้
(1) ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามข้อใดและควรได้รับโทษสถานใด
(2) ผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการ
ให้ออกจากราชการ หรือไม่ อย่างไร
(3) กรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามข้อ 5 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ หรือไม่ อย่างไร
ข้อ 58 เมื่อได้ประชุมพิจารณาลงมติตามข้อ 57 แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนทำรายงานการสอบสวนซึ่งมีสาระสำคัญตามแบบ สว.6 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้ เสนอต่อนายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้ง ให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้กับรายงานการสอบสวน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบสวนด้วย
รายงานการสอบสวนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.      สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่ามีอย่างใดบ้าง ในกรณีที่ไม่ได้สอบสวนพยานตามข้อ 49 และข้อ 50 ให้รายงานเหตุที่ไม่ได้สอบสวนนั้นให้ปรากฏไว้ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้บันทึกเหตุผลในการรับสารภาพ (ถ้ามี) ไว้ด้วย
(2) วินิจฉัยเปรียบเทียบพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหากับพยานหลักฐานที่หักล้าง ข้อกล่าวหา
(3) ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ อย่างไร ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยกรณีใดตามข้อใด และควรได้รับโทษสถานใด หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามข้อ 5 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ หรือไม่ อย่างไร หรือมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามข้อ 5 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการ ให้ออกจากราชการ หรือไม่ อย่างไร
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานการสอบสวนแล้ว ให้เสนอสำนวนการสอบสวน พร้อมทั้ง
สารบาญต่อนายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และให้ถือว่าการสอบสวนแล้วเสร็จ
ข้อ 59 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนการสอบสวนมาแล้วให้นายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่ง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนการสอบสวนตามข้อ 61 ข้อ 62 ข้อ 63 และข้อ 64 แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิด หรือไม่มีเหตุที่จะให้ออกจากราชการตามข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ สมควรยุติเรื่อง หรือกระทำ
ผิดที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้นายกเทศมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการโดยเร็ว
(2) ในกรณีที่จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา ตามข้อ 68 ของ มาตรฐานทั่วไปนี้ หรือตามข้อ 4 หรือข้อ 5 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการโดยไม่ชักช้า และให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาโดยเร็ว
ข้อ 60 ในกรณีที่นายกเทศมนตรีหรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใดให้กำหนดประเด็น พร้อมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเพื่อดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมไม่อาจทำการสอบสวนได้ หรือนายกเทศมนตรีเห็นเป็นการสมควร นายกเทศมนตรีจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ขึ้นทำการสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำข้อ 31 และข้อ 32 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมไปให้นายกเทศมนตรีผู้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็น
ข้อ 61 ในกรณีที่ปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ 31 ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป ในกรณีเช่นนี้ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง
ข้อ 62 ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้อง ให้การสอบสวนตอนนั้นเสียไปเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การประชุมของคณะกรรมการสอบสวนมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในข้อ 35 วรรคหนึ่ง
(2) การสอบปากคำบุคคลดำเนินการไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 39 วรรคสอง ข้อ 46 ข้อ 47 ข้อ 48 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 51
ในกรณีเช่นนี้ ให้นายกเทศมนตรีสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ 63 ในกรณีที่ปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนไม่เรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา หรือไม่ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา หรือไม่มีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหา
ชี้แจง หรือนัดมาให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามข้อ 43 ให้นายกเทศมนตรีสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงให้ถ้อยคำ และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามที่กำหนดในข้อ 43 ด้วย
ข้อ 64 ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามหมวดนี้ นอกจากที่กำหนดใน ข้อ 61 ข้อ 62 และข้อ 63 ถ้าการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ให้นายก เทศมนตรี สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว แต่ถ้าการสอบสวนตอนนั้นมิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม นายกเทศมนตรีจะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้
ข้อ 65 การนับระยะเวลาตามมาตรฐานทั่วไปนี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลาให้นับวันต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มระยะเวลาที่ขยายออกไป ส่วนเวลาสุดสิ้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
ข้อ 66 ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามที่กำหนดในกฎ ก.ท. ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2520) โดยอนุโลมจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปนี้
หมวด 5
การลงโทษทางวินัย

ข้อ 67 พนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้นายกเทศมนตรีสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
นายกเทศมนตรีมีอำนาจลงโทษตัดเงินเดือน และลดขั้นเงินเดือนพนักงานเทศบาลตามวรรคหนึ่งได้ดังนี้
(1) ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 % และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
(2) ลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
ข้อ 68 ภายใต้บังคับวรรคสองแห่งข้อนี้ พนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้นายก
เทศมนตรีสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบ การพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลงโทษต่ำกว่าปลดออก
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตั้งตามข้อ 22 วรรคสาม หรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี เห็นว่าพนักงานเทศบาลผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้นายกเทศมนตรี
เสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ ซึ่งผู้นั้นสังกัดอยู่พิจารณาทำความเห็นเสนอ และเมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติเป็นประการใด ให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามข้อนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ต้องไม่
เป็นกรรมการในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ตามข้อ 2 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เห็นสมควร
(2) นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัด
(3) ผู้แทนเทศบาลในจังหวัดซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารหรือพนักงานเทศบาล
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานบุคคลหรือเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานทางวินัย
คณะอนุกรรมการตามวรรคสี่ ให้มีกรรมการตาม (1) และ (2) ฝ่ายหนึ่ง กรรมการตาม (3) ฝ่ายหนึ่ง และกรรมการตาม (4) ฝ่ายหนึ่ง จำนวนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคสี่ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการพนักงาน เทศบาลกำหนด
ข้อ 69 การลงโทษพนักงานเทศบาล ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด และมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสะจริตหรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงให้ชัดเจนว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยโดยมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวน พยานหลักฐาน และเหตุผลที่สนับสนุนข้อกล่าวหาอย่างไร เป็นการกระทำผิดวินัยกรณีใด ตามข้อใด
การลงโทษตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นคำสั่ง และระบุสิทธิในการอุทธรณ์ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งด้วย วิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามข้อ 67 หรือข้อ 70 วรรคสอง วรรคสาม ห้ามมิให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่การสั่งลงโทษผู้ถูกพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด 3 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ และให้ทำคำสั่งตามแบบ ลท.1 แบบ ลท.2 หรือ แบบ ลท.3 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
(2) การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ตามข้อ 68 หรือการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่อนุโลมใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่มาตรฐาน
ทั่วไปนี้ใช้บังคับ จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ และให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.4 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
(3) การสั่งเพิ่มโทษ หรือลดโทษ เป็นไล่ออก หรือปลดออกจากราชการตามข้อ 68 หรือเป็นโทษไล่ออก หรือปลดออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่อนุโลมใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใด ให้นำ (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(4) การสั่งเพิ่มโทษ หรือลดโทษ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งลงโทษเดิมใช้บังคับ ทั้งนี้ การสั่งย้อนหลังดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงสิทธิและประโยชน์ ที่ผู้ถูกสั่งลงโทษได้รับแล้ว
(5) การสั่งลดโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการตามข้อ 68 หรือโทษปลดออก หรือไล่ออก จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่อนุโลมใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ ใช้บังคับ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใด ให้นำ (1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(6) คำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ตามข้อ 70 วรรคสอง วรรคสาม ให้ทำคำสั่ง
ดังกล่าวตามแบบ ลท.5 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
(7) การสั่งยกโทษ งดโทษ ลดโทษ หรือเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ตามข้อ 2 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.6 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
(8) การสั่งยกโทษ งดโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษผู้อุทธรณ์ตามข้อ 3 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ และการสั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้ทำคำสั่งดังกล่าวตามแบบ ลท.7 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
(9) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้ทำเป็นคำสั่งมีสาระสำคัญ
แสดงเลขที่ และวัน เดือน ปี ที่ออกคำสั่งเดิม ข้อความเดิมตอนที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง และข้อความที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว
หมวด 6
การรายงานการดำเนินการทางวินัย

ข้อ 70 เมื่อนายกเทศมนตรีได้ดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานเทศบาล โดยสั่งลงโทษ หรือลงทัณฑ์หรืองดโทษตามข้อ 67 หรือสั่งยุติเรื่องแก่พนักงานเทศบาลผู้ใด ให้รายงานไปยังคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ ตามข้อ 68 วรรคสี่ พิจารณาทำความเห็นเสนอ และเมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาเห็นว่าการลงโทษ หรือลงทัณฑ์หรืองดโทษ หรือสั่งยุติเรื่องเป็นการไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมและมีมติเป็นประการใดให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฎิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ในกรณีนายกเทศมนตรีได้สั่งลงโทษ ลงทัณฑ์ เพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ หรือสั่งยุติเรื่อง ตามข้อ 68 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ของมาตรฐานทั่วไปนี้ หรือสั่งให้พนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการตามข้อ 3 (4) หรือข้อ 4 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยหรือการสอบสวน หรือการให้ออกจากราชการต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อทราบ
เมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลได้พิจารณามีมติตามวรรคหนึ่ง หรือนายกเทศมนตรีได้รายงาน
การดำเนินการทางวินัยตามวรรคสองแล้ว ให้รายงานไปยังคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย การให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจง และเพื่อให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสม โดยให้ส่งสำเนาคำสั่ง 3 ฉบับ และบันทึกสรุปประวัติและข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญตามแบบ สป.1 ท้ายมาตรฐานทั่วไปนี้
เมื่อนายกเทศมนตรีได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น หรือลดโทษเป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษ หรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอันยกเลิก ถ้าลดโทษ
เป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก ในกรณีที่คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก ให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัด หรือลดลงไปแล้วตาม
คำสั่งที่เป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ
ข้อ 71 เมื่อนายกเทศมนตรีได้ดำเนินการทางวินัย หรือพิจารณาลงความเห็นให้พนักงานเทศบาลออกจากราชการในเรื่องใด ถ้าคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลพนักงานเทศบาลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ก็ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบไปให้นายกเทศมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย
ในการสอบสวนเพิ่มเติม ถ้าคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องถิ่น หรืออยู่นอกอำนาจของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ก็ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญนั้นไปให้นายกเทศมนตรีเพื่อขอให้หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องถิ่นนั้นทำการสอบสวนแทนได้ และให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องถิ่นนั้นมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ 23 โดยอนุโลม
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีส่งประเด็นหรือข้อสำคัญตามมติคณะกรรมการพนักงานเทศบาลไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนหรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดอย่างร้ายแรงตามข้อ 22 วรรคสาม ให้นำการสอบสวนพิจารณาตามข้อ 22 วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 72 พนักงานเทศบาลผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ ให้นายกเทศมนตรีสั่งลงโทษผู้นั้นตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษ ให้ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปนี้ เว้นแต่
(1) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับและยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฏหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ
(2) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฏหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณีเป็นอันใช้ได้
(3) กรณีที่ได้มีการรายงาน หรือส่งเรื่อง หรือสำนวนเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ อ.ก.ท.จังหวัด หรือ ก.ท.หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาโดยถูกต้องตามกฏหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา เมื่อมีมติเป็นประการใดให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2544

ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
(ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
 **** แก้ไขตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยววินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น