วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์

หมวด 2
การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
________________________________________
ข้อ 21 พนักงานเทศบาลผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย หรือมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ ด้วยเหตุใด ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบเรื่องอันเป็น เหตุให้ร้องทุกข์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวดนี้
การ ร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ให้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล และให้นำความในหมวด 1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 22 ภายใต้บังคับข้อ 21 พนักงานเทศบาลผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือปฏิบัติให้เกิดความ คับข้องใจต่อตน ผู้นั้นอาจร้องทุกข์เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่ มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด 1 ซึ่งต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดในหมวดนั้น
การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาอื่นที่ มิใช่นายกเทศมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อนายกเทศมนตรี หากผู้ร้องทุกข์ไม่ได้รับคำชี้แจง หรือได้รับ คำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจ ให้ดำเนินการตามวรรคสาม
กรณีเหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจาก นายกเทศมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ตามข้อ 2 ทำความเห็นเสนอ และเมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลมีมติเป็นประการใด ให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มติของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ 23 เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดี ระหว่างผู้บังคับบัญชา กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เมื่อมีกรณีเป็นปัญหาขึ้นระหว่างกันควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจ ฉะนั้น เมื่อ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือปฏิบัติให้เกิดความคับข้องใจต่อตน และแสดงความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ให้ผู้บังคับบัญชานั้นให้โอกาสและรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นทางแห่งการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นต้น
ถ้าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไม่ประสงค์ที่จะปรึกษาหารือ หรือปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำ ชี้แจงหรือได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจ ก็ให้ร้องทุกข์ตามข้อ 24
ข้อ 24 การร้องทุกข์ ให้ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนไม่ได้ และให้ร้องทุกข์เป็นหนังสือ
ข้อ 25 หนังสือร้องทุกข์ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์ และต้องประกอบด้วยสาระสำคัญที่แสดงข้อเท็จจริงและปัญหาของเรื่องให้เห็นว่า ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือปฏิบัติให้เกิดความ คับข้องใจต่อตนอย่างใด และความประสงค์ของการร้องทุกข์
ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะ แถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้อง ทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสือร้องทุกข์หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้ แต่ต้องยื่นหรือส่งก่อนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณีเริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ โดยยื่นหรือส่งต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลโดยตรง
ข้อ 26 ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือกรรมการพนักงานเทศบาลผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
(2) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์
นหเห็นHH (3) มีสาเหตุโกรธเคืองผู้ร้องทุกข์
(4) เป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดากับผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
การคัดค้านอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือกรรมการพนักงานเทศบาลผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้น ต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือร้องทุกข์ หรือแจ้งเพิ่มเติมเป็นหนังสือก่อนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้อง ทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี เริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
เมื่อมีเหตุหรือมีการ คัดค้านตามวรรคหนึ่ง อนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือกรรมการพนักงานเทศบาลผู้นั้น จะขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นก็ได้ ถ้าผู้ถูกคัดค้านนั้นมิได้ขอถอนตัว ให้ประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือประธานกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน หากเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือ ให้แจ้งผู้ถูกคัดค้านนั้นทราบและมิให้ร่วมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้น เว้นแต่ประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือประธานกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นว่าการให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะจะทำให้ได้ความจริงและเป็นธรรม จะอนุญาตให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นก็ได้
ข้อ 27 เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
(1) ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือต่อ ผู้ ร้องทุกข์ ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเรื่องอันเป็น เหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าผู้ถูกสั่งไม่ยอมลง ลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง และมีการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกสั่งทราบกับมอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกสั่ง แล้วบันทึกลงวัน เดือน ปี เวลา และสถานที่ที่แจ้ง และลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงลาย มือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง และได้แจ้งเป็นหนังสือ ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ไปให้ผู้ถูกสั่ง ณ ที่อยู่ของผู้ถูกสั่งซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ โดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกสั่งเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปี ที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมา เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่า ผู้ถูกสั่งได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้ทราบคำสั่งแล้ว
(2) ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์โดยตรง ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องทุกข์รับทราบ หรือควรได้ทราบคำสั่งเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
(3) ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือปฏิบัติให้เกิดความคับข้องใจต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ได้มีคำสั่งอย่างใด ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ดังกล่าวเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ข้อ 28 การร้องทุกข์ตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง ให้ทำหนังสือร้องทุกข์ถึงประธานกรรมการพนักงานเทศบาล พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับโดยออกนามจังหวัด และยื่นที่ศาลากลางจังหวัด หรือเทศบาลนั้น
ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับผ่านนายกเทศมนตรีก็ได้ และให้นายกเทศมนตรีดำเนินการตามข้อ 30 วรรคสอง
ในกรณีที่มีผู้นำหนังสือ ร้องทุกข์มายื่นเอง ให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือประทับตรารับหนังสือ และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือ ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณและให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าว เป็นวันยื่นหนังสือร้องทุกข์
ในกรณีที่ส่งหนังสือ ร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันส่ง หนังสือร้องทุกข์
เมื่อได้ยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ไว้แล้ว ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ก่อนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลแล้วแต่กรณี จะเริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นก็ได้ และให้นำความใน ข้อ 10 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ ร้องทุกข์ไม่ประสงค์จะให้มีการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป จะขอถอนเรื่องร้องทุกข์ก่อนที่นายกเทศมนตรี หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี พิจารณาเสร็จสิ้นก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นหรือส่งต่อนายกเทศมนตรีก่อนพิจารณาเสร็จสิ้น หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ก่อนทำความเห็น หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาลก่อนพิจารณามีมติ แล้วแต่กรณี เมื่อได้ถอนเรื่องร้องทุกข์แล้ว การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นให้เป็นอันระงับ
ข้อ 30 เมื่อได้รับหนังสือร้องทุกข์ตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง ให้ประธานอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือประธานกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือร้องทุกข์ให้นายกเทศมนตรีทราบโดยเร็ว และให้นายกเทศมนตรีส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปเพื่อประกอบการพิจารณา ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือ
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีได้รับหนังสือร้องทุกข์ที่ได้ยื่นหรือส่งตามข้อ 28 วรรคสอง ให้นายกเทศมนตรีส่งหนังสือร้องทุกข์พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ ไปยังคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
ข้อ 31 การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และคณะกรรมการพนักงานเทศบาล พิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้อง ทุกข์ และในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารและ
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือขอให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือชี้แจง ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา หากคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล พิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่อง ร้องทุกข์ จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาเสียก็ได้
ในกรณีที่นัดให้ผู้ร้องทุกข์มาแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อที่ประชุม ให้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชา
ผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบ ด้วยว่า ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้พนักงานเทศบาลที่ เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาต่อที่ประชุมครั้งนั้นได้
ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ หรือผู้แทนเข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้ร้องทุกข์ได้
ข้อ 32 ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับ แต่วันได้รับหนังสือร้องทุกข์ และเอกสารหลักฐานตามข้อ 30 แต่ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาพิจารณาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน และให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วย
ในกรณีที่ขยายเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว การพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แล้วแต่กรณี ขยายเวลาพิจารณาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน แต่ทั้งนี้ให้พิจารณากำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณาแล้วเสร็จโดยเร็วและ บันทึกไว้เป็นหลักฐานในรายงานการประชุมด้วย
ข้อ 33 เมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้ว
(1) ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติให้เกิดความคับข้องใจต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้มีมติยกคำร้องทุกข์
1. ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้ อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฎิบัติหรือปฏิบัติ
ให้เกิดความคับข้องใจต่อผู้ร้อง ทุกข์นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้มีมติให้แก้ไขโดยเพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น หรือให้ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(3) ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหรือ ปฏิบัติให้เกิดความคับข้องใจต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแต่บางส่วน และไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางส่วน ให้มีมติให้แก้ไขหรือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถ้าเห็นว่าสมควรดำเนินการโดยประการอื่นใด เพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรม ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
การพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่ง ให้บันทึกเหตุผลของการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุมด้วย
ข้อ 34 เมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ได้มีมติตามข้อ 33 แล้วให้นายกเทศมนตรีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้นในโอกาสแรกที่ทำได้ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำป็นจะให้มีการรับรองรายงานการประชุมเสียก่อนก็ได้ และเมื่อได้สั่งหรือปฏิบัติตามมติดังกล่าวแล้วให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ เป็นหนังสือโดยเร็ว
ข้อ 35 การนับระยะเวลาตามมาตรฐานทั่วไปนี้ สำหรับเวลาเริ่มต้น ให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา ส่วนเวลาสุดสิ้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
ข้อ 36 ในกรณีที่ พนักงานเทศบาลได้ยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาไว้แล้วก่อน วันที่มาตรฐานทั่วไปนี้ใช้บังคับ และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นยังไม่แล้วเสร็จ ให้ ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อพิจารณามีมติต่อ ไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2544

ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
(ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

1 ความคิดเห็น: