ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด......................
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่น
สำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ
...............................................
อาศัยอำนาจตามประกาศในมาตรา
๑๓
(๒) และมาตรา ๒๓ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.๒๕๔๒ ประกอบกับข้อ ๓๕ ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด......................
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล ลงวันที่ ………………….
มติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุมครั้งที่………….. เมื่อวันที่ …………………. และมติคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด......................
ในการประชุมครั้งที่ …….. เมื่อวันที่ …………… ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด...................... เรื่อง
กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นแก่พนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่
…………..และออกประกาศกำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ
ดังนี้
“ ให้เทศบาลที่บริหารจัดการการจ่ายเงินเดือน
ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับพนักงานและลูกจ้างได้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา
๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และได้บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถเสนอขอรับการประเมินเพื่อกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษสำหรับพนักงานและลูกจ้างของเทศบาลได้ตามเงื่อนไขและวิธีการ
ดังนี้
๑. คุณสมบัติของเทศบาลที่มีสิทธิขอรับการประเมิน
เทศบาลที่ผ่านการประเมินการบริหารจัดการที่ดีของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย ในปีงบประมาณที่แล้วมาโดยได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ และมีวงเงินคงเหลือจากค่าใช้จ่ายเงินเดือน
ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นยังไม่ถึงร้อยละ ๔๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมิน
๒. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
๒.๑ ขั้นตอนและวิธีการประเมิน
(๑) ภายในเดือนตุลาคมของทุกปีให้เทศบาลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ
๑. ทุกแห่ง เสนอขอรับการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเพื่อกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษสำหรับพนักงานและลูกจ้างต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
(ก.ท.จ.) เพื่อรับทราบการประเมิน กรณีเทศบาลตามข้อ ๑ แห่งใดมีวงเงินคงเหลือไม่เพียงพอแก่การจัดประโยชน์
ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ให้เสนอเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจขอรับการประเมินให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ทราบด้วย
(๒) ให้เทศบาลที่ขอรับการประเมินตามข้อ (๑) ดำเนินการตามแบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า
๘ เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ ๑ พฤศจิกายนของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเป็นต้นไป
แล้วดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการตามมิติที่ ๒ โดยให้หน่วยงานหรือสถาบันที่เป็นกลางทำการสำรวจ
และรายงานผลการ ปฏิบัติงานตามมิติและตัวชี้วัด เสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อให้คณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการในระดับอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งไปทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(๓) ให้คณะอนุกรรมการประเมินตามข้อ ๒ รายงานและเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน
๒.๒ คณะอนุกรรมการประเมิน
ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการของเทศบาลในระดับอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ประกอบด้วย
(๑) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ๑
คน ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลคัดเลือก เป็นประธาน
(๒) กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในคณะกรรมการพนักงาน
เทศบาล ๑ คน ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลคัดเลือก เป็นอนุกรรมการ
(๓) ผู้แทนส่วนราชการ ๑ คน เป็นอนุกรรมการ
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ๒ คน ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
คัดเลือก เป็นอนุกรรมการ
(๕) ท้องถิ่นจังหวัดหรือผู้แทน ๑ คน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะอนุกรรมการนี้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการของเทศบาลตามมิติ
ตัวชี้วัด และเกณฑ์คะแนนประเมินแล้วรายงานผลการประเมินให้ คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน
๒.๓ มิติการประเมินและตัวชี้วัด (๑๐๐ คะแนน)
(๑) มิติ ตัวชี้วัด และคะแนนประเมิน (๘๐ คะแนน) ประกอบด้วย
มิติการประเมินและตัวชี้วัด
|
คะแนนเต็ม
|
มิติที่
๑ มิติด้านประสิทธิผลตามแผนพัฒนาของเทศบาล
[]ผลสำเร็จตามแผนพัฒนาสามปีของเทศบาล
|
๑๕
|
มิติที่
๒ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
[]คุณภาพการให้บริการ
[]การมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
|
๒๕
|
มิติที่
๓ มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
[]การบริหารงบประมาณ
[]การประหยัดพลังงาน
[]ความประหยัดและคุ้มค่าในการบริหารจัดการโครงการหรืองานประจำ
[]ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
|
๒๐
|
มิติที่
๔ มิติด้านการพัฒนาองค์กร
[]การจัดการสารสนเทศ
[]การพัฒนาบุคลากร
[]การพัฒนากฎหมาย
[]การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายการประเมินตามหลักเกณฑ์นี้
จากระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
[]การให้เทศบาลเสนอโครงการ/กิจกรรมปรับปรุงกระบวนการทำงาน หรือลดขั้นตอนการทำงานหรือการบริการและตอบสนองความต้องการของประชาชน
๑ โครงการ/กิจกรรม
|
๒๐
|
รายละเอียดการประเมินตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
(๒) คะแนนตามสัดส่วนของผลคะแนนประเมินการบริหารจัดการที่ดีในปีที่ผ่านมา
(๒๐ คะแนน) โดยให้ได้รับคะแนนประเมินตามสัดส่วน ดังนี้
คะแนนประเมินการบริหารจัดการที่ดี
|
คะแนนที่ได้
|
-มากกว่า ๘๐ คะแนนขึ้นไป
|
๒๐
|
-มากกว่า ๗๕ - ๘๐ คะแนน
|
๑๘
|
-มากกว่า ๗๐ - ๗๕ คะแนน
|
๑๖
|
-มากกว่า ๖๕ - ๗๐ คะแนน
|
๑๔
|
-ตั้งแต่ ๖๐ - ๖๕ คะแนน
|
๑๒
|
โดยเทศบาลที่ผ่านการประเมินต้องได้รับคะแนนรวมตาม (๑) และ (๒) รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๗๕
๓. วงเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ
๓.๑ การกำหนดวงเงิน
(๑) ให้เทศบาลที่ได้รับความเห็นชอบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติราชการจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินประโยชน์ ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเป็นประธาน
ปลัดเทศบาลและหัวหน้าส่วน ราชการ
เป็นกรรมการ โดยนำเงินส่วนที่เหลือจากกรณีค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่น ไม่สูงกว่าร้อยละ
๔๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมินมาจัดสรรจ่ายเป็นประโยชน์
ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษได้ในจำนวนเงินตามผลคะแนนประเมินที่ได้รับโดยคิดคำนวณ
ดังนี้
วงเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ = (วงเงิน ๔๐ % ที่คงเหลือ) X (ผลคะแนนประเมิน)
๑๐๐
ทั้งนี้
ให้จ่ายจากเงินรายได้ที่ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่นใด
(๒) อัตราเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษที่พนักงาน
ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานจ้างได้รับต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดตามสัดส่วนผลคะแนนประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ดังนี้
(๒.๑) คะแนนประเมินตั้งแต่ ๗๕ คะแนน
มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษไม่เกิน
๓ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน
(๒.๒) คะแนนประเมินตั้งแต่ ๙๕ คะแนนขึ้นไปและมีวงเงินคงเหลือจากกรณีค่าใช้จ่ายเงินเดือน
ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นเพียงพอ อาจเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
เพื่อให้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเกินกว่า ๓ เท่า แต่ไม่เกิน
๕ เท่า ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน โดยใช้ฐานอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน
ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ของปีที่ขอรับการประเมิน
๓.๒ การพิจารณาจ่ายเงิน
(๑) ให้คณะกรรมการตามข้อ ๓.๑ พิจารณาจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส
โดยให้พิจารณาจ่ายตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ ๓.๑ ลดหลั่นกันตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำปีทั้งปีของพนักงานหรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานจ้าง
หรือตามผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานประจำปีทั้งปีของพนักงานจ้างทั่วไปในปีที่ขอรับการประเมิน
แล้วจัดทำบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมการตามข้อ ๓.๑ และรวบรวมเอกสาร
หลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อตรวจสอบกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตหรือเรียกรับผลประโยชน์ในการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ
(๒) ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ
ได้แก่
(๒.๑) พนักงานหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินทั้งปี รวม
๒ ครั้ง
(๑ เมษายน และ ๑ ตุลาคม) ไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งให้นำการได้รับเงินตอบแทนพิเศษครึ่งขั้น
(ร้อยละ ๒) และหนึ่งขั้น (ร้อยละ ๔) ในปีงบประมาณนั้นมารวมเพื่อประกอบการพิจารณาเช่นเดียวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำปีด้วย
กรณีตามวรรคหนึ่งหากพนักงานครูผู้ใดที่ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่
๒ (๑ ตุลาคม ) ด้วยเหตุที่เงินที่ใช้ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนร้อยละ ๖ ไม่เพียงพอ
อันเนื่องมาจากการปรับอัตราเงินเดือนตามนัยพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ
และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔
และพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.๒๕๕๔ และมีผลการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติราชการในครั้งที่
๒ (๑ ตุลาคม)
ถึงขั้นที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ถือว่าผู้นั้นได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ต่ำกว่า
๐.๕ ขั้น โดยรวมกับผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนมนครั้งที่ ๑ (๑ เมษายน)
แล้วไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น[1]
(๒.๒) พนักงานจ้างที่ได้รับการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีงบประมาณนั้น
(๑ ครั้ง) ไม่น้อยกว่า
๑ ขั้น
(๒.๓) พนักงานจ้างทั่วไปที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การปฏิบัติงานในปีงบประมาณนั้นทั้งปี (รวม ๒ ครั้ง) ในระดับดีขึ้นไป
ทั้งนี้
ให้รวมถึงพนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของเทศบาลที่รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากงบประมาณเงินอุดหนุนของรัฐบาลด้วย
(๓) ให้นายกเทศมนตรีออกคำสั่งการให้ได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ
แล้วรายงานคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อทราบ
๔. ให้เงื่อนไขและวิธีการตามประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นไป ”
ประกาศ
ณ วันที่ ...........เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
.....................................
(.................................)
ผู้ว่าราชการจังหวัด......................
ประธานกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด......................
[1]
วรรค ๒
เพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง
กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕
ประกาศมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
เทศบาลตำบลพังโคน
ตอบลบhttp://tessaban-phangkhon.blogspot.com/
*ฝากเว็บไซต์เทศบาลตำบลพังโคนด้วยนะครับ*