ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
เรื่อง
มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล
เป็นพนักงานเทศบาล
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล
พ.ศ.๒๕๕๕ เพื่อให้การสรรหาบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล
เป็นไปอย่างคุ้มค่าและสามารถบรรจุแต่งตั้งในอัตราว่างได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมภายใต้ระบบคุณธรรมและมาตรฐานเดียวกัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗(๕) และมาตรา ๒๔ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒
คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๓๐
พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ได้มีมติกำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาลดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง
มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล
พ.ศ. ๒๕๕๕ “
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกประกาศกรรมการกลางพนักงานเทศบาลดังต่อไปนี้
๓.๑
ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๙ ลงวันที่
๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙
๓.๒
ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล แก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐
๓.๓
ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล แก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๑
๓.๔
ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑
ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑
ข้อ ๔ เมื่อเทศบาลมีตำแหน่งว่างตามแผนอัตรากำลัง ๓ ปี
อาจสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งที่ว่างอยู่โดยวิธีการจัดสอบแข่งขันหรือร้องขอให้คณะกรรมการการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น
(กสถ.)ดำเนินการสอบแข่งขันแทน
เพื่อขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้สำหรับการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ว่างต่อไป
ในกรณีเทศบาลเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน
ให้เทศบาลเป็นเจ้าของบัญชี
ในกรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน
ให้จังหวัดที่เป็นศูนย์อำนวยการสอบแข่งขันในแต่ละภาค/เขตเป็นเจ้าของบัญชีผู้สอบแข่งได้สำหรับการแบ่งภาค/เขตในการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามประกาศกำหนด
ข้อ ๕
บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.)
ประกอบด้วยจังหวัดในกลุ่มภาค/เขต ดังนี้
๕.๑
ภาคกลางเขต ๑ ได้แก่จังหวัด ชัยนาท ๒.จังหวัดนนทบุรี ๓.จังหวัดปทุมธานี
๔.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๕.จังหวัดลพบุรี ๖.จังหวัดสระบุรี ๗.จังหวัดสิงห์บุรี
๘.จังหวัดอ่างทอง
๕.๒
ภาคกลางเขต ๒ ได้แก่ ๑.จังหวัดจันทบุรี ๒.จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓.จังหวัดชลบุรี
๔.จังหวัดตราด ๕.จังหวัดนครนายก ๖.จังหวัดปราจีนบุรี ๗.จังหวัดระยอง
๘.จังหวัดสมุทรปราการ ๙.จังหวัดสระแก้ว
๕.๓
ภาคกลางเขต ๓ ได้แก่ ๑.จังหวัดกาญจนบุรี ๒.จังหวัดนครปฐม ๓.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๔.จังหวัดเพชรบุรี ๕.จังหวัดราชบุรี ๖.จังหวัดสมุทรสงคราม ๗.จังหวัดสมุทรสาคร
๘.จังหวัดสุพรรณบุรี
๕.๔
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต ๑ ได้แก่ ๑.จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒.จังหวัดขอนแก่น
๓.จังหวัดชัยภูมิ ๔.จังหวัดนครราชสีมา ๕.จังหวัดบุรีรัมย์ ๖.จังหวัดมหาสารคาม
๕.๕
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๒ ได้แก่ ๑.จังหวัดมุกดาหาร ๒.จังหวัดยโสธร
๓.จังหวัดร้อยเอ็ด ๔.จังหวัดศรีสะเกษ ๕.จังหวัดสุรินทร์ ๖.จังหวัดอำนาจเจริญ
๗.จังหวัดอุบลราชธานี
๕.๖
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต ๓ ได้แก่ ๑.จังหวัดนครพนม ๒.จังหวัดบึงกาฬ ๓.จังหวัดเลย
๔.จังหวัดสกลนคร ๕.จังหวัดหนองคาย ๖.จังหวัดหนองบัวลำภู ๗.จังหวัดอุดรธานี
๕.๗
ภาคเหนือเขต ๑ ได้แก่ ๑.จังหวัดชียงราย ๒.จังหวัดเชียงใหม่ ๓.จังหวัดน่าน
๔.จังหวัดพะเยา ๕.จังหวัดแพร่ ๖.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๗.จังหวัดลำปาง ๘.จังหวัดลำพูน
๕.๘
ภาคเหนือเขต ๒ ได้แก่ ๑.จังหวัดกำแพงเพชร ๒.จังหวัดตาก ๓.จังหวัดนครสวรรค์
๔.จังหวัดพิจิตร ๕.จังหวัดพิษณุโลก ๖.จังหวัดเพชรบูรณ์ ๗.จังหวัดสุโขทัย
๘.จังหวัดอุตรดิตถ์ ๙.จังหวัดอุทัยธานี
๕.๙
ภาคใต้ เขต ๑ ได้แก่ ๑.จังหวัดกระบี่ ๒.จังหวัดชุมพร ๓.จังหวัดนครศรีธรรมราช
๔.จังหวัดพังงา ๕.จังหวัดภูเก็ต ๖.จังหวัดระนอง ๗.จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๕.๑๐
ภาคใต้ เขต ๒ ได้แก่ ๑.จังหวัดตรัง ๒.จังหวัดนราธิวาส ๓.จังหวัดปัตตานี
๔.จังหวัดพัทลุง ๕.จังหวัดยะลา ๖.จังหวัดสงขลา ๗.จังหวัดสตูล
ข้อ ๖
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบแข่งขัน
๖.๑
กรณีเทศบาลดำเนินการสอบแข่งขันให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย
นายกเทศมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานและกรรมการจำนวน ๖ คน
โดยให้นายกเทศมนตรีเสนอรายชื่อให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ให้มีผู้แทนจาก ก.ท.จ. อย่างน้อย ๑ คนเป็นกรรมการ และให้มีหน่วยงานกลางที่ ก.ท.จ.คัดเลือก
จากสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐที่เห็นสมควรเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบแข่งขัน
ทำหน้าที่ผลิตข้อสอบ ตรวจข้อสอบและประมวลผลคะแนนหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการสอบแข่งขันมีหน้าที่อำนวยการสอบและดำเนินการสอบแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบ
ตลอดจนระเบียบการสอบได้เท่าที่จำเป็นโดยไม่ขัดต่อหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันและวิธีการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน
ตลอดจนกำกับดูแลหน่วยงานกลางที่
ก.ท.จ.คัดเลือกดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๖.๒
กรณีเทศบาลมอบหมายให้คณะกรรมการกลางสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.)
ดำเนินการสอบแข่งขันแทน ให้ กสถ. ประกอบด้วย
(๑)
ผู้แทน ก.จ. ที่ ก.จ.คัดเลือกจากผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายละ ๑ คน
(๒)
ผู้แทน ก.ท. ที่ ก.ท.คัดเลือกจากผู้แทนนายกเทศมนตรี ผู้แทนปลัดเทศบาล
และผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายละ ๑ คน
(๓)
ผู้แทน ก.อบต. ที่ ก.อบต.คัดเลือกจากผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้แทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
และผู้ทรงคุณวุฒิ ฝ่ายละ ๑ คน
(๔)
เลขาธิการ ก.พ.หรือผู้แทน
(๕)
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(๖)
อธิการบดีของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบการสอบแข่งขัน
(๗)
ให้รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกลางสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น
และให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการที่มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภทอำนวยการระดับต้น
หรือตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการตาม
(๖) ให้คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
และคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล
คัดเลือกมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีความเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบการสอบแข่งขัน
และให้อธิการบดีหรือผู้แทนของมหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการจัดการสอบแข่งขันเป็นกรรมการ
โดยที่มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกนั้น มีหน้าที่ผลิตข้อสอบ การตรวจข้อสอบ
ประมวลผลคะแนนสอบ หรืองานอื่นที่ กสถ.มอบหมาย
ในการคัดเลือกประธานคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นให้กรรมการตาม
(๑) – (๗) ประชุมกันเพื่อคัดเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑.กำหนดระเบียบขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในกระบวนการบริหารจัดการสอบแข่งขันเพื่อให้จังหวัดที่ได้รับมอบหมายเป็นศูนย์อำนวยการสอบแข่งขันในแต่ละภาค/เขต
และมหาวิทยาลัยที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับผิดชอบการสอบแข่งขัน
ถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
๒.ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับบุคคลเข้ารับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๓.ประกาศผลสอบแข่งขันโดยแยกเป็นบัญชีภาค/เขต
๔.พิจารณาคัดเลือกจังหวัดในแต่ละภาค/เขตเป็นศูนย์อำนวยการสอบแข่งขัน
และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกตามสมควร
๕.รายงานผลการสอบแข่งขันให้
ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.ทราบ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
๖.เรื่องอื่นๆตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมอบหมาย
ข้อ ๗
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งระดับต่างๆให้มีรายละเอียด
ดังนี้
๗.๑
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) กำหนดคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
ให้ทดสอบโดยข้อสอบปรนัย
โดยให้คำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่งดังนี้
(๑)
วิชาสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
ให้ทดสอบความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม
หรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน
หรือให้ศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่นซึ่งจะทดสอบความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
(๒)
วิชาภาษาไทย กำหนดคะแนนเต็ม ๒๕ คะแนน
ให้ทดสอบความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย
โดยการให้สรุปความและหรือตีความจากข้อความสั้นๆ
หรือบทความและให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำประโยคหรือข้อความสั้นๆหรือทดสอบโดยการอย่างอื่นที่เหมาะสมกับการทดสอบความรู้ความสามารถดังกล่าว
(๓)
วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ กำหนดคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล
และองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบงานสารบรรณ และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๗.๒
ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) กำหนดคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
ให้ทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งโดยวิธีการสอบข้อเขียนหรือวิธีสอบปฏิบัติ
หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้จะรวมสอบเป็นวิชาเดียวหรืออย่างเดียว
หรือแยกสอบเป็นสองวิชาหรือสองอย่าง
แต่เมื่อรวมคะแนนทุกแบบทดสอบแล้วต้องได้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
เมื่อจะทดสอบความรู้ความสามารถในทางใดและโดยวิธีใด
ให้ระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบด้วย
๗.๓
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) กำหนดคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
ให้ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์
ทั้งนี้อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้ เพื่อพิจารราความเหมาะสมในด้านต่างๆ
เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์
ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม
การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง
ให้คณะกรรมการประชุมเพื่อกำหนดช่วงคะแนนสูงสุด ต่ำสุด ให้ชัดเจน
กรณีกรรมการคนใดให้คะแนนต่างจากเกณฑ์ที่กำหนดให้ถือว่าเสียไปไม่ต้องนำไปคำนวณกับคะแนนของคณะกรรมการอื่นแต่อย่างใด
การดำเนินการทดสอบ
ภาค ก ภาค ข และภาค ค อาจดำเนินการทดสอบในคราวเดียว หรือดำเนินการทดสอบภาคหนึ่ง
ภาคใดก่อนก็ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขันประกาศให้ชัดเจนในประกาศรับสมัครสอบด้วย
ข้อ ๘
วิธีดำเนินการสอบแข่งขัน
ให้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขันสำรวจตรวจสอบตำแหน่งและอัตราว่างให้ถูกต้องและดำเนินการสอบแข่งขัน
ดังนี้
๘.๑
ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันให้ระบุรายละเอียดในเรื่องต่างๆดังนี้
(๑)
ชื่อตำแหน่งและจำนวนอัตราว่างที่จะบรรจุแต่งตั้ง
(๒)
คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิสมัครสอบสำหรับตำแหน่งนั้น
(๓)
คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิสมัครสอบสำหรับตำแหน่งนั้น
(๔)วันเวลา
และสถานที่รับสมัครสอบ
(๕)
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ในการสมัครสอบ
(๖)
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี
และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
(๗)
เงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้ง
(๘)
เรื่องอื่นๆหรือข้อความอื่นที่ผู้สมัครสอบควรทราบ
การประกาศรับสมัครสอบแข่งขันนั้นให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผย
ณ สถานที่รับสมัครสอบก่อนวันที่เริ่มรับสมัครสอบไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการ
และแจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัด หรือจะประกาศทางวิทยุกระจายเสียงหรือทางอื่นใดตามความเหมาะสมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันก็ได้
๘.๒
ให้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขันกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบและระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
วิธีการสอบแข่งขัน
และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขันนี้ได้เท่าที่จำเป็นและไม่ขัดต่อหลักสูตรแล้วให้ประธานกรรมการประกาศก่อนวันสอบไม่น้อยกว่า
๕ วันทำการ
๘.๓
ให้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขันจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับสมัครสอบ
หรือรับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ท โดยให้มีกำหนดเวลารับสมัครสอบไม่น้อยกว่า ๑๕
วันทำการ
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นต้องขยายเวลาการรับสมัครสอบแข่งขันให้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขันเสนอประธานกรรมการเพื่อประกาศขยายเวลาการรับสมัครสอบได้ไม่น้อยกว่า
๕ วันทำการแต่ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ
นับตั้งแต่วันสุดท้ายของการรับสมัครสอบโดยจะต้องประกาศการขยายเวลานั้นก่อนวันครบกำหนดวันปิดรับสมัครสอบ
๘.๔
ให้หน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบก่อนวันสอบไม่น้อยกว่า
๑๐ วันทำการ
๘.๕
การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบแข่งขันได้ให้ถือเกณฑ์ว่าต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนในภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(ภาค
ก) ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)
และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) ที่สอบตามหลักสูตรแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๖๐ โดยต้องนำคะแนนจากการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(ภาค ก)
ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะสำหรับตำแหน่ง(ภาค ข) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
(ภาค ค) มารวมกัน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย
*** ๘.๖ ให้ผู้สมัครสอบเสียค่าะรรมเนียมสอบสำหรับการสมัครสอบตามอัตราที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนดโดยอนุโลม ตามบัญชีอัตราค่าสมัครสอบแข่งขันแนบท้าย
ค่าธรรมเนียมสอบจะไม่จ่ายคืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ เว้นแต่จะเสนอให้ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล พิจารณายกเว้นเป็นรายกรณีไป
๘.๗
เมื่อได้ดำเนินการสอบแข่งขันเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันรายงานผลการสอบแข่งขันต่อหน่วยดำเนินการสอบแข่งขันและประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ต่อไป
ข้อ ๙
การขึ้นบัญชีผู้สอยแข่งขันได้
๙.๑
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้จัดเรียงลำดับที่จากผู้สอบได้คะแนนสูงลงมาตามลำดับ
ในกรณีที่ผู้สอบแข่งขันได้คะแนนรวมเท่ากันให้ผู้สอบแข่งขันได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง(ภาค
ค) มากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค
ค) เท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)
มากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
(ภาค ข) เท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการในภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(ภาค
ก)มากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีกให้ผู้ที่สมัครสอบก่อนเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
ทั้งนี้ พิจารณาจากเอกสาร ในการสมัครสอบ
๙.๒
บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ให้ใช้ได้ไม่เกิน ๒ ปี นับแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชี
แต่ถ้ามีการสอบแข่งขันอย่างเดียวกันนั้นอีกและได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว
บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งก่อนเป็นอันยกเลิก
เว้นแต่จะได้มีการเรียกรายงานตัวเพื่อบรรจุแต่งตั้งหรือได้มีการขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้และได้มีการเรียกรายงานตัวเพื่อบรรจุแต่งตั้งภายในอายุบัญชีที่กำหนดไว้
และต่อมาบัญชีได้ครบระยะเวลาตามที่ระบุ
หรือก่อนมีการประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่
ให้ถือว่าผู้นั้นยังมีสิทธิได้รับการบรรจุแต่งตั้ง
แต่ทั้งนี้ผู้นั้นจะต้องไปรายงานตัวต่อองค์กรปกครองท้องถิ่นที่จะบรรจุแต่งตั้งไม่เกิน
๓๐ วัน
นับแต่วัดถัดจากวันที่บัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้นมีอายุครบตามที่ประกาศหรือวันที่ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐
เงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้ง
๑๐.๑
การบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้จากบัญชีผู้สอบแข่งขันนี้ ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บรรจุแต่งตั้งอย่างน้อย
๑ ปีไม่มีข้อยกเว้น จึงจะโอนไปสังกัดหน่วยงานราชการอื่นได้
อนึ่งเมื่อจังหวัดเจ้าของบัญชีได้ส่งบุคคลใดไปเพื่อรับการบรรจุแต่งตั้งแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีสิทธิปฏิเสธที่จะรับผู้นั้นเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง
๑๐.๒
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขัน
และเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนดโดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
๑๐.๓
การรับโอนผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งเป็นข้าราชการประเภทอื่นให้ระบุว่าจะรับโอนมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและการศึกษาเงินเดือนตามที่ประกาศไว้
เว้นแต่หน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน
จะประกาศเป็นการล่วงหน้าว่าจะรับโอนในตำแหน่งและระดับเดิมหรือเทียบเท่าไม่สูงกว่าระดับในระดับควบและอัตราเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
๑๐.๔
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเทศบาลหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
ให้บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของเทศบาลหรือคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
ข้อ ๑๑
การอนุญาตให้ใช้บัญชี
๑๑.๑
กรณีเทศบาลเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ให้บรรจุแต่งตั้งได้เฉพะเทศบาลนั้น
ไม่อาจอนุญาตให้เทศบาลอื่นใช้บัญชีเพื่อบรรจุแต่งตั้งได้เมื่อบรรจุแต่งตั้งครบตามจำนวนอัตราที่ว่างแล้วหากภายหลังมีอัตราว่างลง
อาจแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ที่อยู่ในลำดับถัดไปให้ดำรงตำแหน่งได้
แต่ต้องบรรจุและแต่งตั้งเรียงตามลำดับที่ที่สองแข่งขันได้
๑๑.๒
กรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันสามารถอนุญาตให้เทศบาลอื่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ประสงค์จะขอใช้บัญชีสอบแข่งขันดังกล่าวสามารถใช้บัญชีเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขันแต่ต้องเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน
ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนดโดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ซึ่งหน่วยงานที่ขอใช้บัญชีจะต้องมีพื้นที่อยู่ในภาค/เขตที่กำหนด
ทั้งนี้จะต้องดำเนินการหลังจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ร้องขอให้คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันแทนได้รับการบรรจุแต่งตั้งจนครบจำนวนแล้ว
๑๑.๓
การอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นที่มีระดับเดียวกันหรือระดับสูงกว่ามาบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่มีระดับต่ำกว่าภายใต้เงื่อนไขว่าตำแหน่งที่ขอใช้จากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้นั้นต้องเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกับตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้ง
และมีคุณวุฒิเทียบได้ไม่ต่ำกว่าคุณวุฒิ ตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้งและในขณะบรรจุแต่งตั้งจะต้องไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของเทศบาลหรือบัญชีของศูนย์ภาค/เขตในตำแหน่งนั้น
โดยผู้นั้นต้องสมัครใจไปดำรงตำแหน่งที่มีระดับต่ำกว่าด้วย
กรณีตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้งในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาค/เขตไม่มี
หรือบรรจุแต่งตั้งครบทั้งบัญชีแล้ว ก็อาจใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้นหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันของบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของภาค/เขตอื่นได้ตามที่คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๒
การยกเลิกการขึ้นบัญชีเฉพาะราย
ผู้ใดได้รับการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ถ้ามีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ให้เป็นอันยกเลิกบัญชีผู้นั้นในการสอบแข่งขันได้
คือ
(๑) ผู้นั้นได้ขอสละสิทธิรับการบรรจุและแต่งตั้ง
เมื่อมีการเรียกรายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง
(๒)
ผู้นั้นไม่มารายงานตัวเพื่อรับการบรรจุเข้ารับราชการภายในเวลาที่เจ้าของบัญชีผู้สอบแข่งขันได้กำหนด
โดยมีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแจ้งให้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๐
วัน นับแต่วันที่ที่ทำการไปรษณีย์รับลงทะเบียน
(๓)
ผู้นั้นมีเหตุไม่อาจเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามกำหนดเวลาที่จะบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบได้
(๔)
ผู้นั้นประสงค์จะเข้ารับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้โยการโอนแต่ส่วนราชการที่จะบรรจุไม่รับโอน
และได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะไม่รับโอน ผู้นั้นจึงไม่ประสงค์จะรับการบรรจุ
(๕)
ผู้นั้นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบได้ไปแล้ว
ให้ยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ทุกบัญชีในการสอบครั้งเดียวกัน
การยกเลิกการขึ้นบัญชีเฉพาะรายตาม
(๓) เนื่องจากไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารเมื่อออกจากทหาร
โดยไม่มีความเสียหายปละประสงค์จะเข้ารับราชการในตำแหน่งที่สอบได้และบัญชีนั้นยังไม่ยกเลิก
ให้ขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีเดิมเป็นลำดับแรกที่จะบรรจุในครั้งต่อไป
การยกเลิกการขึ้นบัญชีเฉพาะรายตาม
(๓) ถ้าบัญชีนั้นยังไม่ยกเลิกและเจ้าของบัญชีพิจารณาเห็นว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรจะอนุมัติให้ขึ้นบัญชีผู้นั้นไว้ในบัญชีเดิมในลำดับสุดท้ายเพื่อบรรจุแต่งตั้งต่อไปก็ได้
ข้อ ๑๓
กรณีการพบการทุจริตในการดำเนินการสอบแข่งขัน
กรณีที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริต
อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในระหว่างดำเนินการสอบแข่งขัน
ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการระงับการสอบหรือการประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้และการประกาศยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของพนักงานเทศบาล
กรณีผู้ดำเนินการสอบแข่งขันทุจริตหรือส่อว่าทุจริตในการสอบแข่งขัน ฉบับลงวันที่ ๓๑
กรกฎาคม ๒๕๔๙
ข้อ ๑๔
การรายงานผลการดำเนินการสอบแข่งขัน
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบให้เกิดความเป็นธรรม
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๑๔.๑
กรณีที่เทศบาลเป็นหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน
(๑)
ให้รายงานการดำเนินการสอบแข่งขันให้สำนักงาน ก.ท.จ.ทราบ
โดยส่งสำเนาแต่งตั้งคณะกรรมการ ๑ ชุด และสำเนาประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ๒ ชุด
ไปยังคณะกรรมการพนักงานเทศบาลก่อนเริ่มรับสมัครสอบไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ
(๒)
เมื่อการสอบเสร็จสิ้นให้รายงานต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลภายใน ๑๕ วันทำการ
นับแต่วันประกาศผลการสอบแข่งขันโดยให้ส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้
ก.บัญชีกรอกคะแนน
๑ ชุด
ข.สำเนาประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ๑ ชุด
(๓)
หากมีการยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
หรือขึ้นบัญชีเพิ่มเติมให้รายงานคณะกรรมการพนักงานเทศบาล นับแต่วันยกเลิกหรือขึ้นบัญชีนั้น
(๔)
หากมีการเปลี่ยนแปลงในประกาศรับสมัครสอบ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ กำหนดวัน
เวลาและสถานที่สอบ ประกาศผลสอบและอื่นๆนอกจากที่กำหนดไว้เดิมให้รายงานคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลง
๑๔.๒
กรณีคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.)ให้รายงานผลตามข้อ ๑๔.๑
ต่อคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
ข้อ ๑๕
การประกาศรับสมัครสอบแข่งขันที่ได้ดำเนินการก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
ให้คงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕
ชูชาติ หาญสวัสดิ์
(นายชูชาติ
หาญสวัสดิ์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
*** ข้อ ๘.๖ แก้ไขตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็น พนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๒)
บัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็น พนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๒)
อัตรา (บาท) หลักสูตร
๑๐๐ บาท สำหรับการสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
๒๐๐ บาท สำหรับการสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) และ
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)
๓๐๐ บาท สำหรับการสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความ สามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)
*** ข้อ ๘.๖ แก้ไขตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็น พนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๒)
บัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็น พนักงานเทศบาล (ฉบับที่ ๒)
อัตรา (บาท) หลักสูตร
๑๐๐ บาท สำหรับการสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
๒๐๐ บาท สำหรับการสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) และ
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)
๓๐๐ บาท สำหรับการสอบเฉพาะภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความ สามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)
ขอสอบถามช่วยกรุณาตอบให้กระจ่างด้วยนะค่ะ
ตอบลบดิฉันสอบบรรจุตำแหน่ง จพง.ประชาสัมพันธ์ 2 ใช้วุฒอนุปริญญา ซึ่งต้องใช้เวลาขึ้นระดับ 3 เป็นเวลา 3 ปี ผ่านไป 2 ปี นำวุฒิปริญญาตรีมาปรับเพื่อขึ้นระดับ 3 ได้เลยหรือไม่ (ไม่ต้อง 3 ปี) ช่วยตอบหน่อยนะค่ะกำลังจะปรับแต่บุคลากรไม่แน่ใจ
E-Mail : konkiy2012@Gmail.com