วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหาร เพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร พ.ศ. 2550

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล(ก.ท.)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหาร เพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร พ.ศ. 2550

-------------------------------


โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้พนักงานเทศบาลตำแหน่งบริหารได้ศึกษาเพิ่มเติมความรู้ ในคุณวุฒิที่สูงขึ้น เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่ามาใช้ในการเพิ่ม ทักษะการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวหน้าสืบไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (5) มาตรา 24 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ประกอบกับมติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ในการประชุม ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 จึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการ นำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อประโยชนในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่ง บริหารในระดับที่สูงขึ้น ดังนี้

ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์บริหารเพื่อลด ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร พ.ศ. 2550

ข้อ 2 ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 คุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าซึ่งนำมาเทียบประสบการณ์บริหารนั้นจะต้องเป็นคุณวุฒิ ที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของตำแหน่งที่สมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น

ข้อ 4 การนำคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งมาเทียบ เป็นประสบการณ์การบริหารเป็นระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งบริหาร ในระดับที่สูงขึ้นสามารถนำมาใช้ได้เฉพาะตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการในระดับ 6 ระดับ 7 หรือระดับ 8

ข้อ 5 ผู้ใดได้นำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์เพื่อลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งจากสี่ปี เป็นสามปี และได้รับการบรรจุแต่งตั้งไปแล้วนั้น ถือว่าได้ใช้สิทธิในการเทียบประสบการณ์การบริหารไปแล้วไม่อาจขอใช้สิทธิในครั้งต่อไปได้อีก

ข้อ 6 ให้ผู้ประสงค์ขอนำคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง มาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งบริหารในระดับที่สูงขึ้น ดำเนินการดังนี้

(1) จัดทำแผนหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาองค์กรและตัวชี้วัด ความสำเร็จทั้งทางด้านประสิทธิภาพและคุณภาพของงานที่จะเกิดขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประชาชน
(2) จัดทำผลงานอย่างน้อยหนึ่งผลงานที่เป็นผลสัมฤทธิ์จากการนำความรู้ที่ได้ศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่ามาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ก่อให้เกิดผลดีต่อเทศบาลหรือประชาชน
(3) การยื่นผลงานตามข้อ 6 (1) และข้อ 6 (2) ให้ยื่นได้ภายในหกเดือน ก่อนดำรงตำแหน่ง ในสายงานนักบริหารงานนั้นครบสามปี ตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่กำหนด

ข้อ 7 ให้ ก.ท.จ ตรวจประเมินผลงานตามข้อ 6 (1) และข้อ 6 (2) ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับยื่นผลงาน

ข้อ 8 เมื่อ ก.ท.จ. เห็นชอบให้นำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์เพื่อลดระยะเวลา การดำรงตำแหน่งบริหารเป็นเวลาหนึ่งปีได้แล้ว ให้รายงานผลต่อสำนักงาน ก.ท เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือ รับรองให้แก่ผู้ผ่านการประเมินเทียบประสบการณ์บริหารดังกล่าว นำไปประกอบการสมัครสอบคัดเลือก เพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้นต่อไป

ข้อ 9 ในการแต่งตั้งผู้บริหารที่นาคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบประสบการณ์การบริหารตาม ประกาศฉบับนี้ ผู้นั้นจะต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรนักบริหารงานตามสายงานด้วย โดย ก.ท.จ. อาจยกเว้นให้เข้ารับการฝึกอบรมภายหลัง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปี นับแต่ได้รับการแต่งตั้ง

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

อารีย์ วงศ์อารยะ
(นายอารีย์ วงศ์อารยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

หลักเกณฑ์การให้พนักงานเทศบาลได้รับเงินเดือน

ประกาศหลักเกณฑ์การให้พนักงานเทศบาลได้รับเงินเดือน

***********************

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17(4)ประกอบมาตรา 24 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับพนักงานเทศบาล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุมครั้งที่ 11/2544 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2544 มีมติเห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การให้พนักงานเทศบาลได้รับเงินเดือนไว้ ดังต่อไปนี้
1 พนักงานเทศบาลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ดังนี้
(1) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 1 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 1
(2) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 2 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 2
(3) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 3 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 3
(4) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 4 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 4
(5) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 5 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 5
(6) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 6 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 6
(7) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 7 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 7
(8) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 8 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 8
(9) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ 9 ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท 9

2 พนักงานเทศบาลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด โดยได้รับเงินเดือน ในอันดับใดตามข้อ 1 ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น เว้นแต่
(1) ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับนั้นอยู่แล้ว ให้ได้รับเงินเดือน เท่าเดิม
(2) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพ และ ก.พ. ก.ค. หรือ ก.ท. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพนั้น เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในอันดับและขั้นใด ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้
(3) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือ สูงขึ้น และ ก.พ., ก.ค. หรือ ก.ท. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพที่ได้รับ เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในอันดับและขั้นใด นายกเทศมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกเทศมนตรีอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้
(4) ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานใดที่คณะกรรมการกลาง พนักงานเทศบาลกำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ตำแหน่งในสายงานนั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่า ขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับนั้น ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(5) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับที่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม ให้ได้รับ เงินเดือนในแต่ละกรณีดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ให้ได้รับ เงินเดือนในอันดับและขั้นที่ได้รับอยู่เดิม
(ข) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งโดยเป็นความประสงค์ของตัวพนักงาน ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่พนักงานจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลนี้ แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูง ของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่แล้วให้ได้รับเงินเดือนในขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
(6) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใด ถ้าได้รับเงินเดือน สูงกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่แล้ว ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนและอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายหลักเกณฑ์นี้
3 พนักงานเทศบาลผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับพนักงานเทศบาล และกำหนดให้ได้รับเงินเดือนเป็นอย่างอื่นให้พนักงานเทศบาลผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามที่กำหนดในมาตรฐานทั่วไป นั้น
4 พนักงานครูเทศบาลที่สังกัดสถานศึกษาตำแหน่งใดคณะกรรมการกลางพนักงาน เทศบาล กำหนดให้ได้รับเงินเดือนหลายระดับ (ระดับควบ) เมื่อพนักงานครูเทศบาลผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับถัดไป ให้นายกเทศมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล สั่งผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับถัดไป
5 กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดในหลักเกณฑ์นี้ให้เสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป

ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545


ประชา มาลีนนท์
(นายประชา มาลีนนท์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

-----------------------------------------------------------------------------------------------
การปรับอัตราเงินเดือนของพนักงานเทศบาลให้ได้รับตามคุณวุฒิที่เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
1. ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้น หรือสูงขึ้นต้องเป็นปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่ ก.พ. ก.ค. หรือ ก.ท. รับรองว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้พิจารณาปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิใด ไม่ว่าพนักงานเทศบาลผู้นั้นจะได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพดังกล่าวอยู่ก่อน หรือระหว่างเข้ารับราชการ หรืออยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติ หน้าที่ราชการ
2. การปรับอัตราเงินเดือน ให้ได้รับตามคุณวุฒิไม่มีผลเป็นการปรับปรุงตำแหน่ง หรือเปลี่ยน ระดับตำแหน่ง และต้องให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าอันดับและขั้นของอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับตามที่กำหนดไว้
ตามบัญชีแนบท้าย
3. การปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิ ต้องมีผลไม่ก่อนวันที่พนักงานเทศบาล ผู้นั้นสำเร็จการศึกษา และไม่ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่จะขอปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับ ตามคุณวุฒินั้น รวมถึงไม่ก่อนวันที่ ก.พ. ก.ค. หรือ ก.ท. ได้กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่ได้รับมาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
ในกรณีพนักงานเทศบาลผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลา ของพนักงานเทศบาลนั้น การปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผู้นั้นรายงานตัวต่อเทศบาลหลังสำเร็จการศึกษา
ในกรณีที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นก่อนวันที่เข้ารับ ราชการ หรืออยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิต้องมีผล ไม่ก่อนวันพ้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
ในกรณีที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้น หรือสูงขึ้นหลังวันเข้ารับ ราชการและพ้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วโดยมิได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาเพิ่มเติมตามวรรคสอง การปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
4. นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิ โดยมิให้ย้อนหลังข้ามปี งบประมาณ
ในกรณีที่ได้เสนอเรื่องราวไว้ก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณและไม่สามารถสั่งปรับให้ในวันเริ่มต้นปีงบประมาณก็ให้ได้สั่งปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิได้ตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ ทั้งนี้ให้ปรับ อัตราเงินเดือนให้ได้รับตามวุฒิก่อนการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีปกติ


*********************************

บัญชีแนบท้าย

การกำหนดเงินเดือนตามคุณวุฒิ




คุณวุฒิ บัญชีอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามคุณวุฒิ ที่เพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
1. ม.ต้น/ปลาย อันดับ ท 1 ขั้น 4,100 บาท
2. ปวช. อันดับ ท 1 ขั้น 4,700 บาท
3. ปวท./อนุปริญญา 2 ปี อันดับ ท 2 ขั้น 5,180 บาท
4. ปวส./อนุปริญญา 3 ปี อันดับ ท 2 ขั้น 5,740 บาท
5. ป.ตรีทั่วไป (4 ปี) อันดับ ท 3 ขั้น 6,360 บาท
6. ป.ตรี (5 ปี) อันดับ ท 3 ขั้น 7,040 บาท
(เฉพาะที่ ก.พ.กำหนด)
ป.ชั้นสูง (ป.ตรี 4 ปี+1ปี)
7. ป.โททั่วไป (ตรี 4 ปี+2ปี) อันดับ ท 4 ขั้น 7,780 บาท
สพบ.
8. พ.บ.+ ใบประกอบฯ, ท.พ. อันดับ ท 4 ขั้น 8,190 บาท
9. ป.โท 7 ปี (ตรี 5 ปี+2ปี) อันดับ ท 4 ขั้น 8,610 บาท
10. ท.ม. (ท.บ.+2ปี) อันดับ ท 4 ขั้น 9,040 บาท
11. ป.เอก ป.แพทย์เฉพาะทาง
ป.เอก ป.แพทย์เฉพาะทาง
(1 ตุลาคม 2536) อันดับ ท 5 ขั้น 10,600 บาท
12. ป.แพทย์เฉพาะทาง (5 ปี) อันดับ ท 5 ขั้น 11,120 บาท

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล


ประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล

********************

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา๑๗() ประกอบมาตรา ๒๔ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๔ แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับและการเลื่อนขั้นเงินเดือน ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ และ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๕ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับ พนักงานเทศบาล ไว้ดังต่อไปนี้
. ให้ผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกขึ้น คณะหนึ่งจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน ดังนี้
() กรณีคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก ให้ประธานกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงาน เทศบาลเป็นประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนพนักงานเทศบาลเป็นกรรมการ
() กรณีเทศบาล เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้ง ปลัดเทศบาลเป็นประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนพนักงานเทศบาลเป็นกรรมการ
() กรณีองค์กรอื่นที่มิใช่ (๑) และ (๒) เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกให้ประธานกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งผู้ทรง คุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเป็นประธานกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและผู้แทนพนักงานเทศบาลเป็นกรรมการ
. คณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกอาจตั้งกรรมการออกข้อสอบ กรรมการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการในเรื่องการกรอกคะแนนหรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกได้ตามความจำเป็น
. ให้คณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ข้อเขียน สัมภาษณ์ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบได้เท่าที่จำเป็น และไม่ขัดต่อเงื่อนไขการกำหนด หลักสูตรและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกนี้ แล้วให้ประธานกรรมการประกาศก่อนวันสอบไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ
. หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบในแต่ละ
ตำแหน่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดท้ายนี้
. ให้ผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกประกาศรับสมัครสอบ โดยระบุชื่อตำแหน่งที่จะ แต่งตั้ง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก และข้อความอื่นที่ผู้สมัคร สอบควรทราบโดยปิดประกาศรับสมัครสอบนั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่รับสมัครและแจ้งคณะกรรมการพนักงานเทศบาลอื่น และสำนักงานคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลก่อนวันรับสมัครหรือจะประกาศทาง วิทยุกระจายเสียงหรือทางอื่นใดตามความเหมาะสมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดย ทั่วกันด้วยก็ได้
. ให้ผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับสมัครสอบโดยให้มีกำหนด เวลารับใบสมัครสอบไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการ
. ผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดใน
ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือก ตามข้อ ๕ ในวันรับสมัครสอบคัดเลือก
. ให้ผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบก่อนวันสอบ ไม่น้อยกว่า ๑๐ วันทำการ
. การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ให้ถือเกณฑ์ว่า ต้องเป็นผู้สอบได้คะแนน ในแต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงหลักวิชาวัดผลด้วย
๑๐. การสอบคัดเลือกจะต้องสอบตามหลักสูตรทุกภาค แต่คณะกรรมการ ดำเนินการสอบคัดเลือกจะกำหนดให้ผู้สมัครสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป หรือภาคความรู้
ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก่อนแล้ว จึงให้ผู้สอบได้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๙
สอบในภาคอื่นต่อไปก็ได้
๑๑. ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตอันอาจทำให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมในการสอบคัดเลือก ให้คณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกรายงานให้ คณะกรรมการพนักงานเทศบาลทราบ เพื่อพิจารณาว่าจะสมควรยกเลิกการสอบคัดเลือกครั้งนั้นทั้งหมด หรือจะพิจารณายกเลิกการสอบภาคที่เกิดการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตตามแต่จะ เห็นสมควร ถ้าหากคณะกรรมการพนักงานเทศบาลให้ยกเลิกการสอบคัดเลือกเฉพาะภาคใดแล้ว ก็ให้ดำเนินการสอบคัดเลือกเฉพาะภาค นั้นใหม่ สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตไม่มีสิทธิ เข้าสอบอีกต่อไป
๑๒. เมื่อได้ดำเนินการสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการสอบ คัดเลือกรายงานผลการสอบต่อผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก เพื่อจะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้ต่อไป
๑๓. การขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ ให้เรียงลำดับที่จากผู้สอบได้คะแนนรวมสูงลงมาตามลำดับ ในกรณีที่มีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่ สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ใน ลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเท่ากัน ให้ผู้ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
๑๔. กรณีมีความประสงค์จะขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ให้ระบุระยะเวลาในการขึ้น บัญชี ผู้สอบคัดเลือกได้ในประกาศรับสมัครสอบคัดเลือก และในประกาศผลการสอบคัดเลือก โดยมีเงื่อนไข ให้ใช้บัญชีได้ไม่เกิน ๒ ปี นับตั้งแต่วันขึ้นบัญชี กรณียังใช้บัญชีไม่ครบตามที่ระบุระยะเวลาในประกาศ แต่ประสงค์จะสอบคัดเลือกตำแหน่งเดียวกันนั้นอีก ต้องเสนอเหตุผลความจำเป็นให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อน หากคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา เห็นชอบและเมื่อได้ขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ครั้งก่อนเป็นอันยกเลิก
กรณีที่คณะกรรมการ พนักงานเทศบาลหรือเทศบาลภายในจังหวัดหรือองค์กรอื่นใดที่ คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก หากเทศบาลภายในจังหวัดนั้นมีตำแหน่งว่างและประสงค์จะขอใช้บัญชีเพื่อแต่ง ตั้งผู้สอบคัดเลือกได้แทนตำแหน่งที่ว่างให้ขอใช้บัญชี ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลหรือเทศบาลภายในจังหวัดหรือบัญชีที่องค์กรอื่นใด ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลมอบหมายให้ดำเนินการก่อนขอใช้บัญชีจากคณะกรรมการ พนักงานเทศบาลหรือเทศบาลหรือองค์กรอื่นที่ได้รับมอบให้ดำเนินการสอบใน จังหวัดอื่น
๑๕. การดำเนินการสอบคัดเลือกให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลดำเนินการดังต่อไปนี้
() ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบคัดเลือก ๑ ชุด และสำเนาประกาศรับสมัครสอบ ๓ ชุด ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลก่อนวันเริ่มต้นรับสมัครสอบไม่ น้อยกว่า ๗ วันทำการ
() เมื่อการสอบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งสำเนาบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้จำนวน ๑ ชุด ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลภายใน ๕ วันทำการนับตั้งแต่วันประกาศผลสอบดังต่อไปนี้
() เมื่อมีการยกเลิกการขึ้นบัญชีสอบคัดเลือกได้ หรือขึ้นบัญชีผู้ใดไว้ตามเดิมให้
รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ภายใน ๗ วันทำการ นับตั้งแต่วันยกเลิกหรือขึ้นบัญชีผู้นั้น
() หากมีการเปลี่ยนแปลงในการประกาศรับสมัครสอบ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ เข้าสอบ กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบ ประกาศผลสอบหรืออื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้เดิม ให้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ภายใน ๓ วัน
ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ประชา มาลีนนท์
(นายประชา มาลีนนท์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล
เงื่อนไขการกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานเทศบาล
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในระดับ ๓ ขึ้นไป
***************
ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ให้ ทดสอบความรู้ความสามารถและความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองบังคับบัญชา การควบคุมงาน การตรวจสอบการปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน การติดต่อประสานงาน กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับทั่ว ๆ ไปที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการปรับปรุง งาน นโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัดและอื่น ๆ ที่ จำเป็นสำหรับตำแหน่งตามแนวที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ให้ ทดสอบความรู้ความเข้าใจหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนั้น โดยเฉพาะ โดยวิธีสอบข้อเขียน หรือให้ทดลองปฏิบัติงานหรือวิธีอื่นวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธี ก็ได้ตามความเหมาะสม
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ให้ ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนดในแบบประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งที่คณะ กรรมการกลางพนักงาน เทศบาลกำหนด
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นซึ่งต้องทำการสัมภาษณ์ก็อาจสัมภาษณ์ก็ได้แต่ จะต้องนำผลการประเมินของผู้บังคับบัญชามาประกอบการสัมภาษณ์ด้วย

เงื่อนไขการกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานเทศบาล
ให้ดำรงตำแหน่งบริหารและสายงานผู้บริหารสถานศึกษา
***************
ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ให้ ทดสอบภาคความรู้ความสามารถและความคิดริเริ่มในการกำหนดและปรับปรุงนโยบาย แผนงาน ระบบงาน และการบริหารของส่วนราชการที่สังกัด และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง ตามแนวที่ระบุไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งโดยวิธีสอบข้อเขียน
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ให้ ทดสอบความรู้ความเข้าใจหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนั้น โดยเฉพาะ โดยวิธีสอบข้อเขียน หรือให้ทดลองปฏิบัติงานหรือวิธีอื่นวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ให้ ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่าง ๆ ตามที่กำหนดในแบบประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งที่คณะ กรรมการกลางพนักงาน เทศบาลกำหนด
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นซึ่งต้องทำการสัมภาษณ์ก็อาจสัมภาษณ์ก็ได้แต่ จะต้องนำผลการประเมินของผู้บังคับบัญชามาประกอบการสัมภาษณ์ด้วย


เงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก
(แนบท้าย ประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล)
-------------------------------------------
คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกตามข้อ ๔ แห่งประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล กำหนดไว้ ดังนี้
. การสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานของตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓
.๑ ตำแหน่งที่เปิดสอบ
ทุกตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓
.๒ คุณสมบัติผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก
ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่าระดับ ๓ ของสายงานที่เริ่มต้นจาก ระดับ ๑หรือระดับ ๒
มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด ของตำแหน่งที่เปิดสอบ
ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้น ๖,๓๖๐ บาท

. การสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานผู้ปฏิบัติเป็นผู้บริหาร 
.๑ ตำแหน่งที่เปิดสอบ
๒.๑.๑ นักบริหารงานเทศบาล ๖
๒.๑.๒ นักบริหารงานทั่วไป ๖
๒.๑.๓ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานทั่วไป ๗)
๒.๑.๔ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน ๘ หรือ หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานทั่วไป ๘)
๒.๑.๕ นักบริหารงานคลัง ๖
๒.๑.๖ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานคลัง ๗)
๒.๑.๗ ผู้อำนวยการกองคลัง ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานคลัง ๘)
๒.๑.๘ นักบริหารงานช่าง ๖
                ๒.๑.๙ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานช่าง ๗)
๒.๑.๑๐ ผู้อำนวยการกองช่าง ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานช่าง ๘)
๒.๑.๑๑ นักบริหารงานสาธารณสุข ๖
๒.๑.๑๒ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานสาธารณสุข ๗)
๒.๑.๑๓ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานสาธารณสุข ๘)
๒.๑.๑๔ นักบริหารงานประปา ๖
๒.๑.๑๕ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานประปา ๗)
๒.๑.๑๖ ผู้อำนวยการกองประปา ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานประปา ๘)
๒.๑.๑๗ นักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๖
๒.๑.๑๘ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๗)
๒.๑.๑๙ ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๘)
๒.๑.๒๐ นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๖
๒.๑.๒๑ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๗)
๒.๑.๒๒ ผู้อำนวยการกองช่างสุขาภิบาล ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๘)
๒.๑.๒๓นักบริหารการศึกษา ๖
๒.๑.๒๔ หัวหน้าฝ่าย ๗(นักบริหารการศึกษา ๗)
๒.๑.๒๕ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ๗(นักบริหารการศึกษา ๗)
๒.๑.๒๖ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ๘ หรือรองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ๘ (นักบริหารการศึกษา ๘) 
๒.๑.๒๗ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ๙(นักบริหารการศึกษา ๙) 
๒.๑.๒๘ ผู้อำนวยการกองการแพทย์ ๘ หรือผู้อำนวยการส่วน ๘ (นายแพทย์ ๘)
๒.๑.๒๙ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและแผนงาน ๙ หรือ หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ๙ (นักบริหารงานทั่วไป ๙) *๒.๑.๓๐ ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ๙(นักบริหารงานสาธารณสุข ๙)
๒.๑.๓๑ ผู้อำนวยการสำนักการช่าง ๙ (นักบริหารงานช่าง ๙)
๒.๑.๓๒ ผู้อำนวยการสำนักการช่างสุขาภิบาล ๙(นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๙)
๒.๑.๓๓ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ๙(นายแพทย์ ๙) 
๒.๑.๓๔ ผู้อำนวยการสำนักการประปา ๙(นักบริหารงานประปา ๙) 
 .๒ คุณสมบัติผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก
 ..๑ ตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาล ๖ 
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ ทุกสายงาน และ
๒) เคยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของเทศบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
ความใน ๑) ให้ใช้บังคับต่อไปอีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

..๒ ตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไป ๖
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ และ
๒) เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล งานธุรการ งานสารบรรณ งานทะเบียนและบัตร งานประชาสัมพันธ์ งานนิติการ งานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานระเบียบเผยแพร่ งานระบบข้อมูล งานสัญญา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด

๒.๒.๓ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารงานทั่วไป ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด

๒.๒.๔ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน ๘ หรือหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานทั่วไป ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานด้านบริหารทั่วไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด

๒.๒.๕ ตำแหน่งนักบริหารงานคลัง  
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖ และ
๒) เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานการคลัง งานการเงินและบัญชี งานตรวจสอบภายใน งานจัดเก็บรายได้ งานพัสดุ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
๒.๒.๖ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารงานคลัง ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานคลัง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๗ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองคลัง ๘(นักบริหารงานคลัง ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานด้านบริหารทั่ว ไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารงานคลัง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
..๘ ตำแหน่งนักบริหารงานช่าง ๖
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖
๒) เคย ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการช่าง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด

๒.๒.๙ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารงานช่าง ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานช่าง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๑๐ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองช่าง ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานช่าง ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานด้านช่างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานช่าง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
..๑๑ ตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุข  
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖ และ
๒) เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
๒.๒.๑๒ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารงานสาธารณสุข ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๑๓ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสาธารณสุข ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานสาธารณสุข ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานสาธารณสุข หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
..๑๔ ตำแหน่งนักบริหารงานประปาระดับ ๖
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่าระดับ ๖
๒) เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานการประปา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
๒.๒.๑๕ ตำแหน่งหัวหน้าประปา ๗ (นักบริหารงานประปา ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานประปา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๑๖ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองประปา ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานประปา ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานประปา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
..๑๗ ตำแหน่งนักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๖
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖
๒) เคย ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
๒.๒.๑๘ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานสวัสดิการสังคม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๑๙ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานสวัสดิการสังคม หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด

..๒๐ ตำแหน่งนักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๖
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖
๒) เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานสุขาภิบาลหรือสิ่งแวดล้อมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
๒.๒.๒๑ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ ๗ ว หรือ ๗ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานช่างสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๒๒ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองช่างสุขาภิบาล ๘ หรือ ผู้อำนวยการส่วน ๘ (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานด้านช่างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานช่างสุขาภิบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
..๒๓ ตำแหน่งนักบริหารการศึกษา  
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานครู หรือบุคลากรทางการศึกษาเทศบาลไม่ต่ำกว่า ระดับ ๖ หรือดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ ที่ ก.ท.เทียบเท่า โดยจะต้องเคยปฏิบัติงานหรือปฏิบัติงานในการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมของเทศบาล มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี หรือ
๒) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาและ
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
๒.๒.๒๔ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ๗ (นักบริหารการศึกษา ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานครู คศ.๒ หรือบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล ระดับ ๗ว มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี หรือ
๒) เคยดำรงตำแหน่งครู คศ.๒ สังกัดอื่นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี และได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของเทศบาล มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี หรือ
๓) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือ
๔) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี และ
๕) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๒๕ ตำแหน่งหัผู้อำนวยการกองการศึกษา ๗ (นักบริหารการศึกษา ๗)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือ
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๒๖ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองการศึกษา ๘ หรือ รองผู้อำนวยการสำนัก ๘ (นักบริหารการศึกษา ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งพนักงานครูหรือบุคลากรทางการศึกษาเทศบาลซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษาหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในระดับ ๘ว หรือ ๘ วช หรือวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานด้านการศึกษา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือ
๓) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๒๗ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ๙ (นักบริหารการศึกษา ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี และ
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๒๘ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองการแพทย์ ๘ (นายแพทย์ ๘)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนายแพทย์ระดับ ๘ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๒๙ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิชาการและแผนงาน ๙ หรือ หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ๙ (นักบริหารงานทั่วไป ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานทั่วไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับ ๙ วช หรือ ๙ ชช  มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๓๐ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ๙ (นักบริหารงานสาธารณสุข ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับ ๙ วช หรือ ๙ ชช  มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานสาธารณสุขหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๓๑ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการช่าง ๙ (นักบริหารงานช่าง ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะที่ปฏิบัติงานด้านช่างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับ ๙ วช หรือ ๙ ชช  มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารด้านช่างหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๓๒ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการช่างสุขาภิบาล ๙ (นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะที่ปฏิบัติงานด้านช่างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับ ๙ วช หรือ ๙ ชช  มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานช่างสุขาภิบาลหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๓๓ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ๙ (นายแพทย์ ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนายแพทย์ระดับ ๙ วช มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานการแพทย์หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
๒.๒.๓๑ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการประปา ๙ (นักบริหารงานประปา ๙)
๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งซึ่งมีลักษณะที่ปฏิบัติงานด้านช่างตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับ ๙ วช หรือ ๙ ชช  มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานประปาหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒) มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด
*** ข้อ ๒.๑ และ ข้อ ๒.๒ ถูกยกเลิกและ แก้ไขตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงาน (ฉบับที่ ๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕๕***
***การแก้ไขหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 9)***
. การสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างสายงาน
(สายงานนักบริหาร)
.๑ ตำแหน่งที่เปิดสอบ
รองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล ๘)
รองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล ๗)
) นักบริหารงานอื่น ๆ เว้น นักบริหารงานเทศบาล
.๒ คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก
..๑ รองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล ๘)
ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก หรือ
ดำรงตำแหน่ง ผอ.กอง หรือ ผอ.ส่วน ในระดับ ๘ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
..๒ รองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล ๗)
ดำรงตำแหน่ง ผอ. กอง ระดับ ๗ และได้ดำรงตำแหน่งนักบริหารงาน ๗ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
เคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
..๓ นักบริหารงานอื่น ยกเว้น นักบริหารงานเทศบาล
ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก ผอ.กอง หรือ ผอ.ส่วน หน.ฝ. หรือ หน.กอง ในระดับตำแหน่งที่เปิดสอบ และ
เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนด
ตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาล 9 (ตำแหน่ง รองปลัดเทศบาล)

1. ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรัฐศาสตร์ การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ กฎหมาย หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และ
2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ระดับ 9 (นักบริหารงาน ระดับ 9) หรือที่ ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารงานเทศบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี